สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ร่วมเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดงาน“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 : Thailand Research Expo 2024” ครั้งที่ 19 จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในนามสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมโรตม์ โกมลวนิช รองอธิการบดีส่วนวิชาการและวิจัย นำคณะนักวิจัยเข้าเฝ้ารับเสด็จ ดร.ภัทราภรณ์ สุขขาว คณะการจัดการธุรกิจอาหาร ถวายรายงานผลงานวิจัยเรื่อง การสร้างคุณค่าจากหอยเชอรี่สู่ความยั่งยืนทางอาหาร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรวุฒิ หลอมประโคน คณบดีคณะบริหารธุรกิจ ทูลเกล้าถวายวารสารวิชาการของสถาบันฯ พร้อมด้วยคณะทำงานจากสำนักอธิการบดีและบริหารความยั่งยืน สำนักวิจัยและพัฒนา ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567
สำหรับพิธีมอบรางวัล Thailand Research Expo 2024 Award และมอบโล่แสดงความขอบคุณแก่หน่วยงานที่นำผลงานร่วมนำเสนอ ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ได้รับรางวัล Platinum Award กับผลงาน “การสร้างคุณค่าจากหอยเชอรี่สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 150,000 บาท และเกียรติบัตร นับเป็นรางวัลอันทรงเกียรติให้กับบุคลากร นักวิจัย พีไอเอ็มที่ได้มีส่วนช่วยขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย มีส่วนผลักดันให้เกิดการขยายผลองค์ความรู้ ต่อยอดงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้ ซึ่งมีนักวิจัยผู้พัฒนาผลงาน ได้แก่
- อาจารย์กิตติพงศ์ คงธนาทรัพย์ (คณะบริหารธุรกิจ)
- อาจารย์ ดร. ภัทราภรณ์ สุขขาว (คณะการจัดการธุรกิจอาหาร)
- คุณอรรถพล จิระทัศนกุล (คณะบริหารธุรกิจ)
และในพิธีมอบรางวัล Thailand Research Expo 2024 Award ได้มีการมอบโล่แสดงความขอบคุณแก่หน่วยงานที่นำผลงานร่วมนำเสนอในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 ครั้งนี้ โดย ดร. นฤมล เพ็ชรสุวรรณ ที่ปรึกษางานบริหาร สำนักอธิการบดีและบริหารความยั่งยืน ผู้แทนรับโล่
และภายในงานเดียวกันนี้นักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้รับรางวัลการประกวด “รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567” Higher Education Innovation Award 2024 “รอบชิงชนะเลิศ” ดังนี้
- ผลงาน ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเปปไทด์จากหอยเชอรี่เสริมกาบาจากข้าวสังข์หยด ได้รับ รางวัลเหรียญเงิน
ผู้พัฒนาผลงาน (คณะบริหารธุรกิจและคณะการจัดการธุรกิจอาหาร) ได้แก่
- นางสาวพิมพ์ชนก จันทร์เขียว
- นางสาวภัทรสุดา สุขประเสริฐ
- นางสาวชลิดา สายป้อง
- นางสาวสุภาวดี จอมแปงทา
- นางสาวนันทิญา เชือนรัมย์
- นางสาวปทิตตา สุรีรัมย์
- นายพีรพล คงสบาย
- นายวุฒิโชค แซ่จ๋าว
- นางสาววิภาดา นิลเภตรา
- นางสาวธันยาภัทร์ ภัสสรณ์ศศิธร
ที่ปรึกษาผลงาน
- ดร. ภัทราภรณ์ สุขสุขาว
- ดร. บัญชา ลิมปะพันธ์
- คุณอรรถพล จิระทัศนกุล
2. ผลงาน Mousse care อาหารเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะการกลืนลำบาก ได้รับ รางวัลเหรียญเงิน
ผู้พัฒนาผลงาน (นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและคณะการจัดการธุรกิจอาหาร) ได้แก่
- นางสาวสายน้ำผึ้ง กาญจนสถิตย์
- นายปุณณวรรธน์ บุญญาหิรัญพงศ์
- นางสาวพัชรวรรณ ส่งไพศาล
ที่ปรึกษาผลงาน
- อาจารย์เปรมมิกา ศิริวิเศษวงค์
- คุณปฐมพร บุญสิทธิ์
- คุณมนทกานต์ บุญสุข
3. ผลงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนที่เคยกระทำผิดด้วย ระบบ ReLIFE : พลิกชีวิต มอบโอกาส กลับสู่สังคม ได้รับ รางวัลเหรียญทองแดง
ผู้พัฒนาผลงาน (คณะบริหารธุรกิจและคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี)
- นายศรัณย์กร สุวรรณะ
- นายนฤนาท พุ่มมาลา
- นายปาราเมศ ทุนรุ่งโรจน์
- นายภาราดร เรืองสว่าง
- นางสาวปณิตา โกพล
- นางสาวสุวรรณา ไกรเเสง
ที่ปรึกษาผลงาน
- คุณจิรวงศ์ โตโสม
- คุณกฤษฎา ทองพันลำ
นับเป็นอีกความภาคภูมิใจที่แสดงถึงศักยภาพของนักศึกษาพีไอเอ็มที่มีความมุ่งมั่นในการคิดค้นนวัตกรรมต่อยอดสู่ธุรกิจจริง เป็นนักนวัตกรที่มีคุณภาพเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริงจากเวทีระดับสากล สะท้อนความแข็งแกร่งด้านการเรียนการสอนรูปแบบ Work-based Education การเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงาน สร้างบัณฑิตสำเร็จการศึกษาพร้อมมีอาชีพ พีไอเอ็มพร้อมเดินหน้าสู่ความเป็นสากล มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจชั้นนำของอาเซียน ASEAN’s LEADING Corporate University เพื่อสร้างประโยชน์ พัฒนาสังคม และ ประเทศชาติต่อไป
นอกจากนี้ภายในงานมีนำเสนอผลงานวิจัย โซนบูธนิทรรศการ FL7 ในปี 2567 ผลงานวิจัยของสถาบันฯ ประกอบด้วย
1) การสร้างคุณค่าจากหอยเชอรี่สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
2) นวัตกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านอาหารสุขภาพและความงามจากโกโก้สายพันธุ์ไทย
3) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากผำ Wolffia arrhiza (L.) Wimm เพิ่มพลังงานและภูมิคุ้มกัน
4) การยืดอายุการเก็บรักษาของกล้วยหอมทอง (Musa sapientum) สุกบดพาสเจอไรซ์ สำหรับใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เค้กกล้วยหอม
5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมเพื่อสุขภาพจากแป้งเม็ดขนุน
6) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าภูฎานกรอบรสน้ำพริกนรก
พร้อมกันนี้ สถาบันฯ ได้รับเกียรติโชว์ผลงานนวัตกรรม ที่ได้รับคัดเลือกในกิจกรรมบนเวที Highlight Stage การบรรยายหัวข้อ “พลังนวัตกรรมสู่การสร้างสรรค์ Soft Power” กับผลงาน “การสร้างคุณค่าจากหอยเชอรี่ความยั่งยืนทางอาหาร” ความร่วมมือของคณะบริหารธุรกิจและกคณะการจัดการธุรกิจอาหาร เมื่อวันอังคาร ที่ 27 สิงหาคม 2567 และอีก 1 ผลงานวิจัยไฮไลท์ “นวัตกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านอาหารสุขภาพ และความงาม จากโกโก้สายพันธุ์ไทย” ที่ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ในผลงาน เข้าร่วมงานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 โดย ผศ.ดร.รวมพร เลี่ยมแก้ว คณะการจัดการธุรกิจอาหาร และ ผศ.ดร.กรวิทย์ ไชยสุ นักวิจัยอิสระ ผู้ดำเนินโครงการวิจัยดังกล่าว
ชมภาพบรรยากาศได้ที่ ข่าวพระราชสำนัก (นาทีที่ 3.50-7.15) https://www.royaloffice.th/court-circular/?selectdate=30&selectmonth=8&selectyear=2567