สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) จับมือ 23 องค์กรจากทั่วโลกจัด งานประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ระดับชาติ ครั้งที่ 14 ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 10 ภายใต้หัวข้อ “Harmony of Sustenance: Integrating Food, Health, and Wellness Across Lifetimes” เพื่อแบ่งปันความรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาความก้าวหน้าของวิชาการด้านสุขภาพและอาหาร โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นายแพทย์ กระแส ชนะวงศ์ นายกสภาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ประธานกล่าวเปิดงานผ่านวีดิทัศน์ และ รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี ผู้มอบเกียรติบัตรแก่ผู้บริหารและตัวแทนเครือข่ายพันธมิตรร่วมจัดงาน นอกจากนี้ อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีอาวุโส สายวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร. สมโรตม์ โกมลวนิช รองอธิการบดี ส่วนวิชาการและวิจัย ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร. วิภาดา คุณาวิกติกุล รองอธิการบดี ส่วนวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมผู้บริหาร อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ บุคลากรทางการศึกษา นักศึกษาไทยและต่างชาติร่วมงานจำนวนมาก มีผู้นำเสนอผลงานทางวิชาการจำนวน 221 บทความ ระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 2567 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ
ภายในงานมีเวทีถ่ายทอดความรู้ ร่วมขับเคลื่อน ให้องค์ความรู้การมีสุขภาวะที่ดี ด้านอาหารและเทคโนโลยี สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของโลกจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายสาขา อาทิ Professor Dr. Marcia A. Petrini, PhD. RN. MS. FAAN Former Dean, Professor Emeritus, Wuhan University, PR China และ Professor Dr. Teresa Stone, PhD. RN.RMN BA MHM Adjunct Professor, University of New England, UK Conjoint Professor, University of Newcastle, Australia หัวข้อ The Global Context of Health and Health Care โดยกล่าวถึงภาพรวมของระบบสุขภาพของโลก (Global Health) ผลกระทบการระบาดของโควิด19 กรอบแนวทางการศึกษาวิจัยเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่อวงการสุขภาพ
คุณวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต ในหัวข้อ Future Food Trends ถ่ายทอดข้อมูลสถิติศักยภาพของผู้ส่งออกอาหารระดับโลก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอุตสาหกรรมอาหาร และข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคระหว่างปี 2023-2026 ที่เน้นเรื่องสุขภาพเป็นหลักและใส่ใจประเด็นขยะอาหาร (Food Waste) สิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงภาพรวมผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความสะดวกด้วยการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตสูงขึ้น
Professor Dr.Peng Kaiping Tsinghua University, PR China บรรยายหัวข้อ How Social Science Promotes Human Wellbeing? พารู้จักความหมายของศาสตร์แห่งการมีชีวิตที่ดี ยกตัวอย่างการใช้ชีวิตประจำวันของคนจีนที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงทฤษฎีการสร้างอารมณ์เชิงบวก เช่น การออกกำลัง การสร้างความสัมพันธ์ การปรับตัว และการแก้ปัญหา
ต่อด้วยการอภิปรายเนื้อหาจาก คุณณัฐสิทธิ์ อึ๊งภากรณ์ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท ซีพีแรม จำกัด ในหัวข้อ Food Innovation and Technology for Ready to Eat Products and for Future Foods เผยถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับอาหารพร้อมทานและอาหารแห่งอนาคตที่เน้นแนวคิดยั่งยืน สามารถปรับเข้ากับวิถีชีวิตคนยุคใหม่ อาทิ อาหารฟังก์ชัน อาหารทางการแพทย์ อาหารทดแทนเนื้อสัตว์รวมทั้งการแปรรูปแบบใหม่ อาหารเพื่อสุขภาพ และจุดแข็งของอาหารแห่งอนาคตในประเทศไทยที่น่าติดตาม
ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร. วิภาดา คุณาวิกติกุล รองอธิการบดี ส่วนวิทยาศาสตร์สุขภาพ พีไอเอ็ม แชร์ข้อมูลหัวข้อFood for Health and Wellness, and Health Tourism เน้นการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีจะส่งเสริมทั้งร่างกายและจิตใจ เปรียบการกินอาหารที่มีคุณภาพให้เป็นยา และเสริมข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทยที่จะมีส่วนช่วยสร้างมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจภายในอีก 5 ปีข้างหน้า เช่น การท่องเที่ยวเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ ด้านกีฬา ด้านความงาม และด้านอสังหาริมทรัพย์
Professor Dr. Sally Chan FAAN. President Tung Wah College, Hong Kong หัวข้อ Caring Across Lifespan กล่าวประเด็นหลังการระบาดโควิด19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตเชิงลบของประชาชน จึงทำการวิจัยเพื่อจัดการและป้องกัน รวมถึงการวิเคราะห์ความท้าทายในการส่งเสริมสุขภาพจิตแบบดิจิทัล ได้ยกตัวอย่าง Digital Mental Health ในฮ่องกง เช่น แอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพของคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีใหม่ ช่วยลดความโดดเดี่ยว และช่วยติดตามสุขภาพของตนเองได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ตลอด 2 วันมีนิทรรศการแสดงงานวิจัย การนำเสนอผลงานวิจัย ตลอดจนการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด มุมมอง ระหว่างนักวิจัย อาจารย์ นักศึกษา อันจะนำไปสู่แนวทางการพัฒนานักวิจัย ผลักดันให้มีการเผยแพร่ผลงาน รวมถึงช่วยขับเคลื่อนงานวิจัยที่มีส่วนช่วยตอบสนองสังคม องค์กร และประเทศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้คณะวิชาและเครือข่ายพันธมิตรได้ร่วมออกบูธแสดงนวัตกรรมและสินค้าภายในงานอีกด้วย
งานประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ระดับชาติ ครั้งที่ 14 ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 10 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน สถานศึกษาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งในประเทศและต่างประเทศดังนี้
- สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)
- หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
- สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (สคทส.)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
- วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยพายัพ
- เครือข่ายวิจัยประชาชื่น
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- Fudan University, School of Nursing, PR China
- International Islamic University Malaysia, Kulliyyah of Nursing, Malaysia
- Jiujiang University, School of Nursing, PR China
- Kake Educational Institution, Japan
- Myanmar Noble University, Myanmar
- Nanjing Tech University Pujiang Institute, PR China
- National Taiwan Normal University, Taiwan
- National University of Singapore, Nursing, Singapore
- NHL Stenden University of Applied Sciences, Netherlands
- Shibaura Institute of Technology (SIT), Japan
- Tsinghua University, School of Social Sciences, PR China
- Tung Wah College, Hongkong
- Universitas Indonesia, Faculty of Nursing, Indonesia
- Xi’an Jiaotong University, School of Nursing, PR China
พีไอเอ็มคือสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่สร้างคนและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้บริการวิชาการ ถ่ายทอดความรู้สู่สาธารณะก่อให้เกิดประโยชน์วงกว้าง อีกทั้งสนับสนุนการค้นคว้าซึ่งเป็นพื้นฐานการศึกษาสำคัญของคนทุกระดับ และเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการได้พัฒนาความสามารถด้านการวิจัยให้มีคุณภาพมากขึ้น
ชมบรรยากาศงานประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ระดับชาติ ครั้งที่ 14 ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 10 ย้อนหลังได้ที่
Facebook : PIM Research and Development – สำนักวิจัยและพัฒนา PIM
https://www.facebook.com/PIMRandD