สำหรับใครที่อยากรู้ว่า วิศวกรรมศาสตร์ PIM ในแต่ละสาขาวิชา มีศาสตร์อะไรที่ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการในงานอุตสาหกรรม เรียนแล้วนำไปใช้ในการทำงานจริงได้อย่างไร พบกับวิชาน่าเรียนของวิศวะทั้ง 5 สาขาวิชานี้ได้เลย
สร้างโมเดลสามมิติและการเคลื่อนไหวตัวละครสามมิติ
3D Modeling and Animation
สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ (DIT)
สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ PIM เน้นตอบโจทย์ความต้องการด้านแรงงานดิจิทัลที่ครอบคลุมทั้งการพัฒนาโปรแกรมและสื่อดิจิทัล นักศึกษาจะได้เรียนรู้สร้างโมเดลสามมิติและการเคลื่อนไหวตัวละครสามมิติ (3D Modeling and Animation) สามารถต่อยอดด้านการสร้าง Character เพื่อทำ Art Toy หรือนำไปใช้ในการพัฒนาเกม โดยรู้จักพื้นฐานการสร้างภาพเคลื่อนไหว การสร้างโมเดลสามมิติ การสร้างโมเดลตัวละคร ตลอดจนการสร้างโมเดลฉาก การสร้างลวดลายพื้นผิวในลักษณะที่หลากหลาย การจัดแสงการประมวลผลภาพด้วยโปรแกรมมัลติมีเดียที่เลือกสรร การใส่กระดูกและตั้งค่ากับตัวละครสามมิติให้สามารถขยับได้ การแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวของตัวละครในลักษณะต่างๆ การพูด การแสดงสีหน้าอารมณ์การเดิน การวิ่ง และการยกของหนัก โดยใช้โปรแกรมมัลติมีเดียที่เลือกสรร การใส่กระดูกและตั้งค่ากับตัวละครสามมิติให้สามารถขยับได้ การแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวของตัวละครในลักษณะต่างๆ
ระบบผลิตอัจฉริยะ
Intelligent Manufacturing System
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ (IEM)
วิชาระบบผลิตอัจฉริยะ ของสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ จะทำให้นักศึกษารู้จักองค์ประกอบหลักของระบบผลิตอัจฉริยะ ได้แก่ อินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (IoT) สำหรับงานอุตสาหกรรม, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, ระบบผลิตเสมือนจริง (Virtual Manufacturing), ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP), ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล, (IT Security), การประมวลผลและเก็บข้อมูลด้วยคลาวด์ (Cloud Computing) ตลอดจนการบูรณาการระบบการผลิตอัจฉริยะต่างๆ เข้าด้วยกัน
พื้นฐานระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์
Introduction to Robot Operating System
สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (RAE)
วิชาพื้นฐานระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์ จะทำให้นักศึกษารู้จักระบบสำหรับใช้พัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมหุ่นยนต์ เข้าใจคอนเซ็ปของระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์ (Robot Operating System – ROS) การแบ่งการทำงานของหุ่นยนต์ และรู้จักการสื่อสารแบบ Peer to Peer, โดยการใช้ Node, Topic, Service Massages ตลอดจนการสร้าง Package สำหรับการจัดการบริการซอฟต์แวร์หลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน เพื่อต่อยอดการสร้างหุ่นยนต์ได้ในอนาคต
เครื่องเร่งฮาร์ดแวร์สำหรับการเรียนรู้เชิงลึก
Hardware Accelerators for Deep Learning
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (CAI)
ในรายวิชานี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ว่า การ์ดจอหรือ GPU ไม่ได้มีไว้ใช้เพื่อเล่นเกมได้อย่างเดียว นอกจากนั้นยังจะได้ทำความเข้าใจโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและการใช้ฮาร์ดแวร์ เช่น การ์ดจอ (GPU) และ อุปกรณ์ Edge computing เพื่องาน AI ด้วยเทคนิค Deep Learning ที่เป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพสูง รวมไปถึงจะได้เรียนรู้สถาปัตยกรรมโครงข่ายสำหรับงานด้านต่าง ๆ ที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน เช่น การจำแนกภาพ การตรวจจับวัตถุ การแยกส่วนภาพ การประมาณท่าทาง ฯลฯ
คอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบสำหรับวิศวกรรมการผลิตยานยนต์
Computer Aided Design for Automotive Manufacturing Engineering
สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ (AME)
ศึกษากระบวนการออกแบบและหลักการออกแบบทางวิศวกรรม การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม ทางจลนศาสตร์ การถ่ายเทความร้อน ความเค้นและความเครียดที่เกิดขึ้นในชิ้นงาน ตลอดจนการขึ้นรูปชิ้นงานโดยใช้เครื่องปริ้นท์ 3 มิติ และแนวทางการออกแบบชิ้นงานทางวิศวกรรมยานยนต์ให้เหมาะสมต่อการผลิต เป็นต้น
คอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบสำหรับวิศวกรรมการผลิตยานยนต์
Computer Aided Design for Automotive Manufacturing Engineering
สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ (AME)
ศึกษากระบวนการออกแบบและหลักการออกแบบทางวิศวกรรม การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม ทางจลนศาสตร์ การถ่ายเทความร้อน ความเค้นและความเครียดที่เกิดขึ้นในชิ้นงาน ตลอดจนการขึ้นรูปชิ้นงานโดยใช้เครื่องปริ้นท์ 3 มิติ และแนวทางการออกแบบชิ้นงานทางวิศวกรรมยานยนต์ให้เหมาะสมต่อการผลิต เป็นต้น