ศูนย์นวัตกรรม BAIC และนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) จัดงาน BA INNOVATION DNA 2024 ภายใต้หัวข้อ “Innofestival Shaping Your Future Together” โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีอวุโส ฝ่ายวิชาการ พีไอเอ็ม เป็นประธานในพิธี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล รองอธิการบดี ส่วนพัฒนาการศึกษา รักษาการผู้อำนวยการสำนักการศึกษาทั่วไป และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรวุฒิ หลอมประโคน คณบดีคณะบริหารธุรกิจ พีไอเอ็ม เข้าร่วมงานในครั้งนี้ พร้อมเปิดเวทีสร้างแรงบันดาลใจต่อยอดไอเดียให้กับนักศึกษาโดย คุณภูสิษฐ์ จาตุรงคกุล ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) บรรยายและแบ่งปันประสบการณ์หัวข้อ“พลังนวัตกรรมสู่การสร้างสรรค์ Soft Power” และ คุณจรณ์ ส.จุฑามณี ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์ส่งเสริม Innovation-Driven Enterprise บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) คุณเกียรติรัตน์ ทองผายที่ปรึกษาอาวุโส ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมเป็นคณะกรรมตัดสินผลงาน ณ อาคารหอประชุมปัญญาภิวัฒน์ Hall 1-6 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมองค์ความรู้ ประสบการณ์ ให้กับเหล่านวัตกรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเกี่ยวกับ Soft Power สอดคล้องไปกับนโยบายของประเทศที่ได้กำหนดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 15 สาขา และดึงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในสาขาที่มีศักยภาพขึ้นมาเป็น Soft Power ของไทย เป็นวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fight) และ เทศกาลประเพณีไทย (Festival) เพื่อเป็นเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
นอกจากนี้ยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านนวัตกรรมที่จะสามารถนำไปใช้ในการจัดการสำหรับภาคธุรกิจ ส่งเสริมการเรียนรู้การจัดงานสัมมนาและประกวดนวัตกรรมของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 กระตุ้นและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีเวทีในการจัดแสดงและนำเสนอผลงาน รวมถึงแก้ปัญหาร่วมกับสถานประกอบการ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน โดยใช้ประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานที่สถานประกอบการและองค์ความรู้จากการเรียนภาคทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมต่อไป สำหรับรอบ Grand Final Pitching มีนักศึกษาส่งผลงานเข้าร่วมทั้งหมด 26 ผลงาน โดยผลงานที่ได้รับรางวัลได้แก่
1.รางวัล GOLD PRIZE ได้แก่ ทีม CARE KHUN
นางสาวนาตาลี มหากลั่น
นางสาวเนตรชนก ธูปเหมือนปักษ์
นางสาวสายน้ำผึ้ง กาญจนสถิตย์
2.รางวัล SILVER PRIZE ได้แก่ ทีม CATA+
นายตะวัน สมานสิน
นางสาวธวัลรัตน์ อยู่ดี
นางสาวธิดารัตน์ พิภพไชยาสิทธิ์
นางสาวอภิสรา ภัณการ
นางสาวอัสรีนา ลาเต๊ะ
3.รางวัล BRONZE PRIZE ได้แก่ ทีม BLACK GARLIC JELLY
นางสาวธีริสรา นันทะโคตร์
นายนฉัตร ณ ตะกั่วทุ่ง
นายนนทิวัชร์ ว่องวิเชียรกุล
นายศิวกร กองแก้วภูมิ
4.รางวัล BRONZE PRIZE ได้แก่ ทีม ดิน ด่าน เกวียน
นายกฤษกร แสงเงิน
น.ส.เกศวดี พรประเสริฐ
น.ส.ปิยะวรรณ ขันผักแว่น
น.ส.เยาวลักษณ์ วงค์ตัน