โปรแกรมเมอร์คือใคร
โปรแกรมเมอร์ คือ ผู้นำข้อมูลไปออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ โดยเขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน เช่น ภาษา C++, Java, PHP, Python เป็นต้น
โปรแกรมที่ถูกสร้างมีจุดประสงค์เพื่อจัดการรหัสคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อน โดยโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนแอพพลิเคชั่นในมือถือมีจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งระยะเวลาการทำงานในโปรแกรมที่ง่ายอาจใช้เวลาอันสั้น แต่สำหรับโปรแกรมที่มีความซับซ้อน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ อาจใช้เวลานานเป็นปีหรือมากกว่านั้น
หน้าที่ของโปรแกรมเมอร์มีอะไรบ้าง
โปรแกรมเมอร์มีหน้าที่เขียนและทดสอบรหัสหรือโค้ด เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ทำงานได้ โดยอาจมีนักวิเคราะห์ระบบช่วยทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจในผลลัพธ์การทำงาน และในกรณีที่เกิดปัญหาจากการทำงาน โปรแกรมเมอร์จะทำการตรวจสอบรหัสที่เกิดข้อผิดพลาดและซ่อมแซมแก้ไขให้ถูกต้อง
โปรแกรมเมอร์แบ่งเป็นกี่ประเภท
โปรแกรมเมอร์ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1. Web Programmer หรือ Web Developer
นักพัฒนาระบบที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาใช้กับเว็บไซต์เป็นหลัก โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนนั้นก็คือ html, CSS, Javascript, PHP ฯลฯ Web Programmer มีความสำคัญกับอุตสาหกรรมได้หลายด้านเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมทางการเงินอุตสาหกรรมการแพทย์ หรือนำไปประยุกต์กับอุตสาหกรรมอิ่นๆ ได้อีกมากมาย
2. Application Programmer หรือ Software Developer
นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ และเขียน หรือสร้างโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ใช้ทั้งกับสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนนั้นก็คือ Swift, Java , C# , Objective C , Kotlin และอื่นๆ อีกมากมาย โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนนั้นจะแบ่งออกไปอีกคือ Swift กับ Objective C จะใช้เขียนในส่วนของ IOS หรือ OS x ของ Apple ส่วน Java กับ Kotlin และ C# นั้นจะใช้เขียนในส่วนของ Android
Application Programmer มีความสำคัญกับอุตสาหกรรมได้หลายด้าน เช่น อุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการบริการ อุตสาหกรรมการขนส่ง
3. System Programmer
นักเขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Operating System (OS) ให้คำปรึกษาและแก้ไขระบบเมื่อเกิดปัญหา ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่เราใช้กันเป็นประจำทุกวันเช่น IOS, Mac OS, Android ซึ่งเป็นสายงานที่ยาก และมีความต้องการสูง โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนนั้นก็คือ Assembly, Pascal, C และอื่นๆ ซึ่งเป็นภาษาที่มีความยากมากขึ้น
System Programmer มีความสำคัญกับอุตสาหกรรมได้หลายด้าน เช่น อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักร อุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วน อุตสาหกรรมอากาศยานยนต์ และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อื่นๆ
คุณสมบัติที่เหมาะกับการเป็นโปรแกรมเมอร์
– มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และสนใจด้านการเขียนโปรแกรม
ความชอบและสนใจในการเขียนโปรแกรมถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะเป็นหัวใจหลักของงานโปรแกรมเมอร์
– ขวนขวายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โปรแกรมเมอร์ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และเครื่องมือที่จะช่วยให้การทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– มีสมาธิสูงและมุ่งมั่น
งานเขียนโปรแกรมเป็นงานที่ละเอียด โปรแกรมเมอร์มืออาชีพต้องใช้สมาธิสูง และต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงานแต่ละจุดให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
– มีความคิดสร้างสรรค์
สามารถประยุกต์และดัดแปลงความรู้ความสามารถทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี
– ละเอียดถี่ถ้วน
ความละเอียดเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนแต่ละรหัสลงไปบนคอมพิวเตอร์ เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดเพียงตัวเดียวจะส่งผลต่อโปรแกรมทั้งหมด
ทักษะสำคัญของโปรแกรมเมอร์
1. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ถือเป็นเครื่องมือทำมาหาเลี้ยงชีพของโปรแกรมเมอร์เลยทีเดียว ทักษะพื้นฐานความเข้าใจต่างๆ ต้องเรียกได้ว่าอยู่ในสายเลือด
2. ทักษะเฉพาะทางในการเขียนโปรแกรม
ทักษะเฉพาะที่จำเป็นต้องมีสำหรับโปรแกรมที่ต้องเขียนและพัฒนาโปรแกรม หากพัฒนาการเขียนได้หลากหลายภาษาแล้ว ก็จะยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
3. ทักษะการวิเคราะห์
ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก โปรแกรมเมอร์ต้องคิดวิเคราะห์ความเป็นไปของระบบ และข้อดีข้อเสียต่างๆ ได้อย่างละเอียดแม่นยำ
4. ทักษะการแก้ไขปัญหา
เมื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด ต้องสามารถแก้ไขปัญหาที่พบ เพื่อให้โปรแกรมทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ และทันเวลา
ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเมอร์
1. ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการทำงานของโปรแกรม
2. วางแผนโดยเขียน Flow Chart ขั้นตอนของโปรแกรมโดยละเอียด
3. เขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น ภาษา C++ ภาษา Java
4. อัพเดทและพัฒนาขยายโปรแกรม
5. ทดสอบโปรแกรมและแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
6. สร้างและทดสอบรหัสในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์
เงินเดือนของโปรแกรมเมอร์เริ่มต้นที่เท่าไร
เริ่มต้นที่ 15,000 – 30,000 บาท
หากอัปเลเวลไปเป็น Senior Programmer ก็จะได้เงินเดือนสูงขึ้นเป็น 30,000 – 80,000 บาท
เงินเดือนจะเยอะหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์
ปัจจุบันอาชีพนี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงสำหรับผู้มีประสบการณ์และมีความสามารถมาก หากอยากเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เก่งก็ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในงาน และพัฒนาฝีมือให้เป็นที่ยอมรับ
โปรแกรมเมอร์ต้องทำงานร่วมกับใคร?
1. โปรแกรมเมอร์ร่วมทีม
ในการสร้างโปรแกรมแต่ละครั้งอาจมีขนาดงานที่ใหญ่เกินกว่าโปรแกรมเมอร์คนหนึ่งจะแบกรับไว้ได้ ผู้ร่วมทีมจะช่วยประสานและแบ่งงานกันให้ภารกิจเสร็จลุล่วงได้อย่างถูกต้อง ทันเวลา
2. Business Analyst
ทำหน้าที่ประสานงานและรับโจทย์จากลูกค้าหรือผู้บริหารที่ต้องการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วนำมาถ่ายทอดส่งต่อให้ทีมโปรแกรมเมอร์ดำเนินการ
3. System Analyst
ช่วยทำหน้าที่จัดสรรและกระจายงานต่างๆ ไปให้โปรแกรมเมอร์ในทีม สร้างสรรค์โปรแกรมตามความถนัดและตามโจทย์ที่ได้รับจาก Business Analyst โดย System Analyst ต้องมีความรู้และเข้าใจระบบการทำงานของโปรแกรมเมอร์ เพื่อจะสามารถบริหารงานได้อย่างราบรื่น
4. Graphic Designer
งานโปรแกรมที่เราเห็นสวยงามได้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเขียน Code จากโปรแกรมเมอร์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมองค์ประกอบจากเนื้อหาและงานภาพที่สวยงามจากการออกแบบของ Graphic Designer ด้วย
โปรแกรมเมอร์ทำงานที่ไหน
โปรแกรมเมอร์มักจะทำงานประจำอยู่ใน office สำนักงาน หากเป็นโปรแกรมเมอร์อิสระ ก็จะสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ให้เขียนโปรแกรม และมีอินเตอร์เน็ตในการติดต่อประสานงานเท่านั้น
ข้อมูลจาก trueplookpanya.com และ trueid.net