สำนักอธิการบดีและบริหารความยั่งยืน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) จัดงาน PIM Work-based Education Forum ครั้งที่ 15 ตอน “The future of education from learning real experiences and skill towards sustainability.” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี พีไอเอ็ม กล่าวต้อนรับ พร้อมเป็น Keynote Speaker ในหัวข้อ The Future of Education and Skill ท่านอธิการบดีกล่าวว่า ในฐานะของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีหน้าที่หลักในการสร้างบุคลากรให้กับองค์กรและสังคมนั้น ควรเตรียมคนอย่างไรจึงจะสามารถหล่อหล่อมให้ผู้เรียนเป้นบัณฑิตมืออาชีพที่พร้อมทำงานได้ พีไอเอ็มมุ่งเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติงาน หรือ Work-based Education โดยเตรียมความพร้อมทั้งวิชาการและภาคปฏิบัติด้านต่างๆ ให้กับผู้เรียนอย่างครบถ้วนก่อนเข้าสู่โลกการทำงาน ให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความสามารถ ทักษะด้านต่างๆ ของตนเอง เสริมการเรียนรู้เฉพาะด้าน อัปเดตองค์ความรู้ใหม่ทันเทรนด์อย่างสม่ำเสมอ พร้อมฝึกปฏิบัติงานทุกปีเพื่อให้เข้าใจหลักการทำงาน รับมือและจัดการกับปัญหา รวมถึงคอนเนกชันสำหรับงานในอนาคต
ถัดมาเป็นช่วงบรรยายพิเศษโดย ผศ.ดร.เลิศชัย สุธรรมานนท์ รองอธิการบดี ส่วนพัฒนางานบริการวิชาการ และองค์กรที่ปรึกษาศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เรื่อง Work-based Education Way : วิถีของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ที่ทุกมหาลัยประยุกต์ใช้ได้ โดยกล่าวว่า พีไอเอ็มพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเรียกว่า Work-based Education (WBE) หรือการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ 1. การสอนโดยมืออาชีพ (Work – based Teaching: WBT) 2. การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานจริง (Work – based Learning: WBL) 3. การศึกษางานวิจัยจากปัญหาวิจัยจริง (Work – based Researching: WBR) และ 4. มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างเครือข่าย (Networking University) และเสริมในเรื่องของการวางระบบบริหารผลงานอย่างมีกลยุทธ์ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน (Strategic Performance Management) การสร้างแรงบันดาลใจของบุคลากรทั้งหมดให้มุ่งเป้าหมาย (People Passion) การออกแบบหลักสูตรตามกฎระเบียบและสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอน (Curriculum Redesign) และ การวัดกระบวนการทำงานและจัดรูปแบบงานที่สร้างความร่วมมือกัน (Work Process & Style Redesign) เพื่อการเรียนการสอนที่จะสามารถขับเคลื่อนความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ผสานไปกับภาคธุรกิจที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรและพนักงานที่มีอยู่ นอกจากนี้รูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานมีเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้นคือนักศึกษาจะมีข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขันในตลาดแรงงาน เนื่องจากได้ฝึกประสบการณ์จริง เข้าใจในอุตสาหกรรมชุมชน และเป็นบัณฑิตที่พร้อมทำงาน
และปิดท้ายด้วย ดร.มัลลิกา บุญญาศรีรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักอธิการบดีและบริหารความยั่งยืน และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริหารสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และ อาจารย์อาจารย์กมล สงบุญนาค ผู้อำนวยการ ศูนย์ที่ปรึกษาและพัฒนาอาชีพนักศึกษา คณะการจัดการธุรกิจอาหาร ในหัวข้อ การดูแลนักศึกษากับ Counselling and Career Development for Student การให้คำปรึกษาและพัฒนาอาชีพแก่นักศึกษา โดยให้ความสำคัญในกระบวนการการดูแล อาทิ การสร้างช่องทางในการติดต่อสำหรับการรับฟังข้อมูลจากนักศึกษา ผู้ปกครอง รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องให้สารมารถเข้าถึงได้ การจัดการข้อร้องเรียนโดยมีระบบที่มีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่การรับฟัง Feedback จากสถานประกอบการ เพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเตรียมคนให้กับสถานประกอบการต่อไป งานนี้ได้รับความสนใจจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั่วประเทศที่มาร่วมฟังข้อมูล ร่วมแชร์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ณ ห้อง Auditorium ชั้น 16 อาคาร CP All Academy สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถ.แจ้งวัฒนะ