ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ นักศึกษา พีไอเอ็ม ทีม Alip “ผลงาน Pomacea Sausage กรือโป๊ะหอยเชอรี่” จากคณะบริหารธุรกิจ ร่วมกับ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร และ ทีม KANASRI “ผลงาน ข้าวเกรียบน้ำพริกคณาศรีเสริมแคลเซียมและใยอาหาร” จากคณะบริหารธุรกิจ ร่วมกับ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร ผ่านเข้ารอบ Prototype to Company จาก 25 ทีม (ทั่วประเทศ) ได้รับทุนสนับสนุน 50,000 บาท เเละทุนพัฒนาเข้าสู่การจัดตั้งธุรกิจ GSB Startup กองทุนจากธนาคารออมสิน ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท จากกิจกรรมประกวด Smart Start Idea by GSB Startup ภายใต้โครงการสร้างผู้ประกอบการ Micropreneur (GSB Micropreneur Academy) ประจำปี 2566 จัดโดยธนาคารออมสิน ร่วมกับ สำนักบริหารกลยุทธ์และนวัตกรรม พีไอเอ็ม ส่งผลงานนวัตกรรมของนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจากโจทย์ธุรกิจ ในหัวข้อ “BCG Economy” เพื่อร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าหรือบริการภายใต้หัวข้อที่ธนาคารกำหนดแล้วส่งเข้าประกวด เพื่อรับทุนการศึกษาและต่อยอดสู่การพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการได้จริง ซึ่งมีผลงานนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการต้นแบบ (Prototype) กว่า 545 ผลงาน จาก 62 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา
ซึ่งผลงาน กรือโป๊ะหอยเชอรี่ เป็นศึกษาการเอาเนื้อปลาป่นมาเปรียบเทียบกับเนื้อหอยเชอรี่ป่นพบว่า หอยเชอรี่มีโปรตีนสูงกว่าเนื้อปลาซึ่งเป็นโปรตีนชนิดดี จึงพัฒนาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์โปรตีนทดแทนจากสัตว์เนื้อแดง เข้ากระบวนการที่ถูกหลักอนามัย เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่วัตถุดิบชุมชน พัฒนาโปรตีนแทน โดยนำแนวคิดและวิธีการเตรียมส่วนผสมในภูมิปัญญาสินค้าชุมชน “กรือโป๊ะ” มาพัฒนาสินค้าในรูปแบบ Sausages จึงเกิดเป็นสินค้า Pomacea Sausage โดยมีสมาชิกทีมพัฒนาผลงาน ดังนี้
นายกุสมาน ยูโซ๊ะ คณะบริหารธุรกิจ
นางสาวมณีรัตน์ หนูหล้า คณะบริหารธุรกิจ
นางสาวชนกนันท์ จันทิมาตย์ คณะบริหารธุรกิจ
นายธีระพัฒน์ กาญจนสิทธ์ คณะบริหารธุรกิจ
นางสาวกิ่งแก้ว ปรากฎชื่อ คณะบริหารธุรกิจ
นายกนต์ธร สวามิต คณะการจัดการธุรกิจอาหาร
สำหรับผลงาน ข้าวเกรียบน้ำพริกคณาศรีเสริมแคลเซียมและใยอาหาร เป็นศึกษาเนื้อปลา ในส่วนของหัว ก้าง เกล็ดปลา มีคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคลเซียมสูง ทางผู้จัดทำจึงได้คิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ ข้าวเกรียบน้ำพริกเสริมแคลเซียมและใยอาหาร ที่มีแคลเซียมและใยอาหารจากส่วนที่เป็น waste มาเป็นวัตถุดิบหลัก โดยผ่านกระบวนการ Food Tech และยังเพิ่มความหอมของพืชสมุนไพร ให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน โดยมีสมาชิกทีมพัฒนาผลงาน ดังนี้
นางสาว บุญฑริกา พลเยี่ยม คณะบริหารธุรกิจ
นายวรวิทย์ บุญประจักษ์ คณะบริหารธุรกิจ
นางสาว พิทยาภรณ์ ตำละเย็บ คณะบริหารธุรกิจ
นางสาวศศิมาภรณ์ โชติเลิศ คณะบริหารธุรกิจ
นางสาวกรภัทร์ นวลเจริญ คณะบริหารธุรกิจ
นางสาวกชกร แอมโอฐ คณะบริหารธุรกิจ
นางสาวสิริยากร ราชเสนา คณะบริหารธุรกิจ
นางสาวธาริณี ศรีตระการ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร
ในการคิดค้นนวัตกรรมเหล่านี้น้องๆ นักศึกษาได้รับการสนับสนุนให้คำปรึกษาจาก ศูนย์นวัตกรรมบริหารธุรกิจ BAIC คณะบริหารธุรกิจ และความร่วมมือจากคณะวิชา ร่วมพัฒนาจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์และเป็นธุรกิจจริง ทั้งนี้ พีไอเอ็มขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับนักนวัตกรที่มีความมุ่งมั่น มีความฝันในการทำธุรกิจ พร้อมที่จะสนับสนุนโอกาส ความร่วมมือกับเครือข่ายพันธิมิตรผลักดันผลงานนวัตกรรมให้เกิดธุรกิจจริง พร้อมเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่