วันที่ 7 ธันวาคม 2565 คุณสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นประธานมอบรางวัล “Chairman Awards มหกรรมนวัตกรรมบัวบาน” ซึ่งเป็นการยกย่องผลงานนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นใน 4 ด้าน คือ ผลงานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ผลงานนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ และผลงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และผลงานด้าน New Normal โดยมีผู้บริหารระดับสูงของเครือฯ ร่วมแสดงความยินดี อาทิ ดร. อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานอาวุโสเครือฯ คุณพงษ์เทพ เจียรวนนท์ รองประธานอาวุโส เครือฯ คุณสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข รองประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ดร.นริศ ธรรมเกื้อกูล ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจโลตัสส์เอเชีย-แปซิฟิก คุณเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจค้าส่งแม็คโคร คุณกนกนารถ นำพาเจริญ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจสัตว์เลี้ยง บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด คุณธานินท์ บูรณมานิต ประธานอำนวยการจัดงาน คุณพัชรี คงตระกูลเทียน รองประธานอำนวยการ คุณชำนาญ หวังอัครางกูร กรรมการอำนวยการ คุณกนธีร์ ติระวิภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ และคุณกีรติ ศตะสุข ประธานเจ้าหน้าที่กลยุทธ์องค์กร กลุ่มธุรกิจ ซี.พี. แลนด์
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการจากภายในเครือฯ อาทิ ดร.เจน ศรีวัฒนะธรรมา ประธานวิชาการ ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ที่ปรึกษากรรมการวิชาการ คุณศักดิ์ชัย บัวมูล ที่ปรึกษากรรมการวิชาการ คุณสมพงษ์ อรุณรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการวิชาการ น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ ที่ปรึกษากรรมการวิชาการ คุณศาลิดา เสรเมธากุล กรรมการวิชาการ คุณฉัตรชัย วิไลรัตนสุวรรณ รองประธานวิชาการด้านเศรษฐกิจ คุณอยุทธ ยุกตะนันทน์ รองประธานวิชาการด้านเทคโนโลยี ดร.สดุดี สุพรรณไพ รองประธานวิชาการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม คุณเจริญ แก้วสุกใส กรรมการภายในบริษัท ซีพีแรม น.สพ.สมชาย เลาห์วีระพานิช กรรมการภายในกลุ่มเจียไต๋ คุณเลิศชาย เหลืองศักดาพิชญ์ กรรมการภายใน จากลุ่มธุรกิจประเทศจีน คุณธัญญา ขอพร กรรมการภายในจากลุ่มธุรกิจประเทศจีน คุณสมใจ บุญยพงษ์ ประธานคณะประสานงานจัดงาน รวมทั้งกรรมการจาภายนอก อาทิ คุณธนะศักดิ์ พึ่งฮั้ว กรรมการภายนอก บริษัท The Inventor Development Company Limited คุณสาวิตร สุทธิพันธุ์ กรรมการภายนอก จาก IBM เป็นต้น
พิธีมอบรางวัลเริ่มต้นด้วยการปลุกพลังคนซีพี ด้วยเพลง 100 ปีแห่งศรัทธา นำเสนอเรื่องราวของคนซีพี กว่าจะมาเป็นวันนี้ที่ร่วมกันสร้างสรรค์คุณค่าให้แก่สังคมไทยและสังคม จนถึงวันนี้ที่ก้าวผ่าน 100 ปี สู่ศตวรรษใหม่ที่พนักงานทุกคนร่วมผนึกกำลังสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่ความยั่งยืน บรรยากาศภายในห้องแกรนด์ฮอลล์ ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยความอบอุ่นและความประทับใจของเหล่านวัตกรที่พกพารอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจเดินทางมาร่วมงานอย่างคับคั่ง พร้อมถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหารซึ่งเป็นภาพประวัติศาสตร์แห่งความสำเร็จของนวัตกรซีพี
คุณธานินทร์ บูรณมานิต ในฐานะประธานอำนวยการจัดงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานว่า มหกรรมนวัตกรรมบัวบานจัดครั้งแรกในปี 2011 และจัดต่อเนื่องทุก 2 ปี และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ทำต้องเลื่อนการจัดงานในปี 2020 และมาจัดรวมกันในปีนี้ ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 5 โดยรวมผลงานปี 2020 และ ปี 2022 โดยแบ่งผลงานเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรฐษกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและด้าน New Normal ที่เพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษจากสถานการณ์โควิด
การจัดงานในครั้งนี้เป็นโอกาสและเป็นเวทีให้คนซีพีที่ทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มี มีโอกาสนำเสนอผลงาน โดยมีคณะกรรมการกลั่นกรองอย่างเข้มข้นจนได้ผลงานโดดเด่นรวม 902 ผลงาน จากจำนวนผลงานที่ส่งเข้าร่วม 3,678 ผลงาน ประธานอำนวยการกล่าวว่า เป็นสถิติใหม่ที่น่าประทับใจทำให้เห็นว่า การขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมของเครือมีความก้าวหน้าและต่อเนื่อง โดยผลงานครั้งนี้มาจาก ทีมงาน CP ทั่วโลกกว่า 16 ประเทศ และเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่เครือฯ มีผลงานนวัตกรรมที่มีคุณภาพจำนวนมากและโดดเด่นได้รับราวัล Chairman Award รวม 2 ปี จำนวน 120 ผลงาน
คุณธานินทร์ กล่าวอีกว่า การจัดงานครั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการนำผลงานนวัตกรรมไปต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้าง และยังเป็นการสร้างเครือข่ายนวัตกรในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนองค์ความเรียนรู้ข้ามสายงาน ข้ามกลุ่มธุรกิจ และข้ามประเทศ ตามยุทธศาสตร์ด้านการผนึกกำลัง (Synergy) สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างไร้ขีดจำกัด ที่สำคัญยังเป็นการเชิดชูและให้เกียรติ นวัตกรของเครือฯ ที่พัฒนาผลงานนวัตกรรมและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่กลุ่มธุรกิจของเครือฯ อย่างมาก อีกทั้งช่วยส่งเสริมศักยภาพของเครือฯ ให้เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง เพราะการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต มีความจำเป็นอย่างในการสร้างนวัตกรรมซึ่งนวัตกรทุกคนมีส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาศัพยภาพองค์กร
ทั้งนี้ ในการจัดงานมีการถ่ายทอดผ่าน Online Platform เป็นครั้งแรก มีการแปล 3 ภาษา ไปยังเพื่อนพนักงานซีพีทั่วโลก ตามวิสัยทัศน์ของท่านประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้คนซีพีทั่วโลกเข้าชมงานได้จากทุกมุมโลก ( Anywhere Anyone) และเปิดให้รับชมย้อนหลังได้ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของเครือฯ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้แลกเปลี่ยนแบบไร้พรมแดน เพื่อให้มีการนำผลงานเหล่านี้ไปต่อยอดและเกิดประโยชน์เป็นวงกว้างที่สุด
ภายหลังการกล่าวรายงาน คุณธานินท์ กล่าวเรียนเชิญ คุณสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือฯ ให้เกียรติมอบถ้วยรางวัล Chairman Award ให้แก่นวัตกรที่มีผลงานโดดเด่นทั้ง 120 ผลงาน โดยท่านประธานได้มอบรางวัล พร้อมทั้งแสดงความยินดีแก่เหล่านวัตกรที่มาร่วมงานและได้รับรางวัลแห่งความประทับใจและภาคภูมิใจในครั้งนี้
การมอบรางวัลในครั้งนี้ แบ่งประเภทผลงานดังนี้ ผลงานนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลในปี 2020 มีจำนวน ทั้งหมด รวม 76 ผลงาน โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ 27 ผลงาน ด้านเทคโนโลยี 23 ผลงาน ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม 17 ผลงาน และด้าน New Normal 9 ผลงาน สำหรับผลงานนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลในปี 2022 มีจำนวน 44 ผลงาน คือ ด้านเศรษฐกิจ รวม 10 ผลงาน ด้านเทคโนโลยี รวม 25 ผลงาน และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวม 9 ผลงาน
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ภาคภูมิใจกับผลงานที่ได้รับรางวัล Chairman Award ประจำปี 2020 ภายใต้ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรพร้อมหลอมรวมเป็นหนึ่ง ขับเคลื่อนพลังแห่งความสำเร็จ ร่วมสร้างผลงานนวัตกรรมหลากหลายสาขาสู่สังคมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
1. Work-based Education ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้สังคม
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาที่เชื่อมโยงความรู้ทฤษฎีเข้ากับภาคปฏิบัติ ผลิตบัณฑิตที่พร้อมทำงานได้จริง เพิ่มโอกาสการได้งานช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและครอบครัว สังคมชุมชนอย่างยั่งยืน
ข้อมูลโครงการ : การสร้างนวัตกรรมระดับอุดมศึกษาที่แตกต่างจากระบบเดิม กล่าวคือเป็น ระบบ Work-based Education (WBE) ประกอบไปด้วย 1)Work-based Teaching (WBT) การเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ โดยมีอาชีพมาร่วมสอน 2)Work-based Learning (WBL) การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานจริงที่สถานประกอบการอย่างมีแบบแผน ติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบทำให้นักศึกษาพร้อมทำงาน มีโอกาสในการสร้างนวัตกรรม และStartup 3)คณาจารย์ทำ Work-based Researching (WBR) คือทำวิจัยจากโจทย์จริงในองค์กรที่ผลวิจัยพร้อมนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้โดยตรง และกลับมาสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน 4)Networking University การสร้างเครือข่ายอันทรงพลัง เพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบ Work-based Education และได้รับประโยชน์จากการนำนักศึกษาไปฝึกงานและจ้างงาน
การจัดการเรียนการสอนแบบ Work-based Education ของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์นั้น เป็นรูปแบบการศึกษาที่ทำให้นักศึกษา คณาจารย์ และผู้มีส่วนได้เสีย มีโอกาสได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ เป็นการสร้างมืออาชีพ ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
2. PIM ส่งรอยยิ้มสู่ยอดดอย
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์จากเดิมร้อยละ 3.3 ให้เพิ่มเป็นร้อยละ 5 และเพิ่มรายได้ต่อหัวของคนกลุ่มชาติพันธุ์ ให้เท่ากับรายได้เฉลี่ยของประชากรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลโครงการ : PIM ส่งรอยยิ้มสู่ยอดดอย เริ่มต้นจากที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเลย์ ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเป็นการประสานความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ของคนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจากการลงพื้นที่ในการดำเนินโครงการทำให้พบประเด็นปัญหาต่างๆ เช่น รายได้ต่อครัวเรือนน้อย มีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนพื้นราบกับคนไทยภูเขาหรือคนกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการขาดโอกาสทางการศึกษา โดยเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีเพียง 3.3% ที่มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ตระหนักถึงการให้โอกาสทางการศึกษากับเยาวชนทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียม จึงพยายามนำรูปแบบการศึกษา (Work-based Education) และระบบการศึกษาทางไกลเข้าไปสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนผ่าน Model PIM CSV-3S เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮองสอนให้มีคุณภาพ สู่การพัฒนาสังคม ประเทศชาติให้เกิดความยั่งยืน
3. เครือข่ายสร้างสุขสู่ปลายด้ามขวาน
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และฝึกอาชีพระหว่างเรียนเพื่อสร้างประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีรายได้จากการฝึกปฏิบัติงาน
ข้อมูลโครงการ : จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้คนในพื้นที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรายได้ลดลง ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ส่งผลให้เยาวชนขาดโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โครงการเครือข่ายสร้างสุข สู่ปลายด้ามขวาน จึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่ใช้ความพยายามในการสร้างความร่วมมือโดยยึดหลักการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value) ในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาด้านการศึกษาให้แก่เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสนับสนุนทุนการศึกษา ค่าที่พัก ค่าครองชีพระหว่างเรียน และนักศึกษายังมีรายได้จากการฝึกปฏิบัติงาน เมื่อเรียนจบมีงานรองรับทันที ทั้งนี้สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้ใช้โมเดล PIM CSV-3S โดยนำจุดเด่นของรูปแบบการศึกษา Work-based Education ที่เน้นการสร้างประสบการณ์จากการทำงานจริง และระบบ Teacher Student Relationship ในการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดทั้งระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติงาน ผลจากการดำเนินงานโครงการเครือข่ายสร้างสุขสู่ปลายด้ามขวาน ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับความรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในพื้นที่ สร้างรายได้ และส่งผลให้ประเทศชาติพัฒนาอย่างยั่งยืน
ที่มา เว็บไซต์ We are CP