สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับโรงเรียนมัธยมศึกษาเครือข่ายทั่วประเทศ ต่อเนื่องปีที่ที่ 4 ภายใต้ โครงการห้องเรียนพันธมิตร โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เป็นประธานในพิธี ร่วมกับผู้อำนวยการและผู้แทนโรงเรียนมัธยมศึกษาเครือข่ายจากภูมิภาคต่างๆ ประกอบไปด้วย กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวม 43 โรงเรียน เพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนร่วมกันและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ความเข้าใจด้านวิชาการ นวัตกรรม ภาคปฎิบัติสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอน Work-based Education การเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงาน รวมถึงแนะแนวอาชีพและศึกษาดูงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งผลให้สามารถค้นพบตัวตน สร้างแรงบันดาลใจการเลือกในการศึกษาต่อ รวมถึงเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต
รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้สร้างความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยมศึกษาเครือข่ายทั่วประเทศ พีไอเอ็มเป็นมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ หรือ Corporate University ใช้รูปแบบ Work-based Education เป็นหัวใจหลักของการเรียนทฤษฎีผสานการฝึกปฎิบัติงานอย่างเข้มข้น เพื่อนักศึกษามีประสบการณ์และได้ค้นพบตัวเองขณะยังศึกษาอยู่ นอกจากนี้ยังเป็น Networking University สร้างเครือข่ายอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศครอบคลุมทุกทวีป อาทิ สถาบันการศึกษา ภาครัฐ องค์กรธุรกิจ เพื่อเผยแพร่ความรู้และเป็นแหล่งฝึกปฎิบัติงานแก่นักศึกษา อีกทั้งเราให้ความสำคัญของการทำความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยม เพื่อเป็นห่วงโซ่ของการสร้างคนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้ได้คนคุณภาพสู่สังคม เพราะคนคือกุญแจไขสู่ความสำเร็จ โดยต้องติดอาวุธให้แก่นักศึกษา 3 ด้าน ได้แก่ 1. อาวุธด้านทักษะฝีมือ มีความพร้อมตามศาสตร์ที่เรียน 2. อาวุธทางภูมิปัญญา คิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น 3. อาวุธทางจริยธรรม สร้างให้เป็นคนเก่งและคนดีสู่ประเทศชาติ”
นอกจากพิธีลงนามแล้วยังมีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การเรียนการสอนแบบ Active Learning” โดย ดร.สุภาวดี วงษ์สกุล ที่ปรึกษา และ อาจารย์ประวิตย์ ศรีหนองหว้า รองผู้อำนวยการ โรงรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถ่ายทอดแนวคิดการสร้างโรงเรียนแห่งความสุขผ่านการเรียนการสอนในแบบลงมือปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ ที่มีบทบาทในการทำให้ผู้เรียนได้ค้นพบตัวตน ก่อนที่จะไปต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น พร้อมทั้งการแนะนำข้อมูลกองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้ (PIM SMART) โดย คุณอัจฉรา พวงแก้ว ผู้อำนวยการกองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้ รวมถึงหลักสูตรและทุนการศึกษาสำหรับห้องเรียนพันธมิตรโดย คุณวิศรุต ชะนะมา ผู้บริหารกลุ่มงาน สำนักแนะแนวและรับสมัคร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
พีไอเอ็มในฐานะสถาบันอุดมศึกษายังคงมุ่งมั่นสร้างประโยชน์ด้านการศึกษาให้กับสังคมอย่างต่อเนื่อง บ่มเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำให้เป็นทรัพยากรบุคคลคุณภาพ ภายใต้ โครงการห้องเรียนพันธมิตร โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ พัฒนาและติดตามผลผ่าน 9 หลักสูตร ได้แก่ 1.หลักสูตรศิลป์การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ 2.หลักสูตรศิลป์การจัดการธุรกิจอาหาร คณะการจัดการธุรกิจอาหาร 3.หลักสูตรวิทย์-คณิต (เตรียมวิศวกรรม) คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 4.หลักสูตรศิลป์ภาษาจีนเพื่อธุรกิจ 4.0 คณะศิลปศาสตร์ 5.หลักสูตรศิลป์ภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจ 4.0 คณะศิลปศาสตร์ 6.หลักสูตรศิลป์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ 7.หลักสูตรวิทย์-คณิต (นวัตกรรมการจัดการเกษตร) คณะเกษตรนวัตและการจัดการ 8.หลักสูตรศิลป์อุตสาหกรรมการบริการ คณะวิทยาการการจัดการ 9.หลักสูตรวิทย์-คณิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพ) คณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมทั้งมีกิจกรรมอบรมครูผู้สอนและมอบสื่อการสอน กิจกรรมศึกษาดูงานกับบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์และสถานประกอบการพันธมิตร โดยความร่วมมือเหล่านี้จะสามารถพัฒนาความรู้ เพิ่มศักยภาพของผู้เรียน ให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อและทราบแนวทางสู่การประกอบอาชีพของตนเองในอนาคต เพื่อกำลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ณ Convention Hall 1-6 อาคารหอประชุมปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ
โรงเรียนมัธยมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือ 8 โรงเรียน ได้แก่
1.โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมจังหวัดเชียงราย
2.โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
3.โรงเรียนถ้ำปินวิทยาคม จังหวัดพะเยา
4.โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม จังหวัดพะเยา
5.โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม จังหวัดพะเยา
6.โรงเรียนสรรพวิทยาคม จังหวัดตาก
7.โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม จังหวัดพิจิตร
8.โรงเรียนผาเมืองวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์
โรงเรียนมัธยมศึกษาเครือข่ายภาคใต้ 10 โรงเรียน ได้แก่
1.โรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา จังหวัดสงขลา
2.โรงเรียนคลองแดนวิทยา จังหวัดสงขลา
3.โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
4.โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จังหวัดสงขลา
5.โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา
6.โรงเรียนบางสวรรค์วิทยาคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
7.โรงเรียนรอมาเนีย จังหวัดนราธิวาส
8.โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี
9.โรงเรียนจงฝามูลนิธิ จังหวัดยะลา
10.โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ จังหวัดตรัง
โรงเรียนมัธยมศึกษาเครือข่าย กรุงเทพฯและปริมณฑล 9 โรงเรียน ได้แก่
1.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพมหานคร
2.โรงเรียนนนทรีวิทยา กรุงเทพมหานคร
3.โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
4.โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
5.โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ กรุงเทพมหานคร
6.โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมาราชาลัย กรุงเทพมหานคร
7.โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จังหวัดนนทบุรี
8.โรงเรียนสวนกุหลาบสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
9.โรงเรียนบางหลวงวิทยา จังหวัดนครปฐม
โรงเรียนมัธยมศึกษาเครือข่าย ภาคตะวันออก 9 โรงเรียน ได้แก่
1.โรงเรียนคลองหาดพิทยาคม จังหวัดสระแก้ว
2.โรงเรียนตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
3.โรงเรียนทัพราชวิทยา จังหวัดสระแก้ว
4.โรงเรียนวังสมบูรณ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว
5.โรงเรียนท่าเกษมพิทยา จังหวัดสระแก้ว
6.โรงเรียนวังไพรวิทยาคม จังหวัดสระแก้ว
7.โรงเรียนสิงห์สมุทร จังหวัดชลบุรี
8.โรงเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีสว่างบริบูรณ์ พัทยา จังหวัดชลบุรี
9.โรงเรียนชำนาญสามัคคี จังหวัดระยอง
โรงเรียนมัธยมศึกษาเครือข่าย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก 7 โรงเรียน ได้แก่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.โรงเรียนเทศบาล 1 (บุรีราฎษร์ดุรุณวิทยา) จังหวัดบุรีรัมย์
2.โรงเรียนสันติวิทยาสรรพ์ จังหวัดเลย
ภาคกลาง ได้แก่
1.โรงเรียนวรดิตถ์วิทยาประสูทน์ จังหวัดอ่างทอง
2.โรงเรียนวัดสระแก้ว จังหวัดอ่างทอง
ภาคตะวันตก ได้แก่
1.โรงเรียนรักษ์วิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2.โรงเรียนบางตะบูนวิทยา จังหวัดเพชรบุรี
3.โรงเรียนธรรมจารินีวิทยา จังหวัดราชบุรี