สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) คว้ารางวัลชนะเลิศ “ด้านสุขภาพและการแพทย์” พร้อมเงินสนับสนุน 100,000 บาท ในการแข่งขัน U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ รอบชิงชนะเลิศ หนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาทักษะในโครงการ “U2T for BCG” จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร. นิธิภัทร กมลสุข รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และ อาจารย์ณิชดนีย์ ธัญพรหิรัณย์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาทักษะและภาษาสำนักการศึกษาทั่วไป ตัวแทนคณะทำงานทีมแฟรี่แลนด์จรเข้ใหญ่ ของ ต.จรเข้ใหญ่ จ.สุพรรณบุรี ขึ้นรับรางวัล ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สำนักการศึกษาทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ และคณะการจัดการธุรกิจอาหาร พีไอเอ็ม ขับเคลื่อนผลงาน “ผงโปรตีนปรุงรสผสมกาบา” ซึ่งการแข่งขันชิงแชมป์ระดับประเทศดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการกว่า 65,000 คน สร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรมที่ตอบโจทย์พื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ และสามารถปฏิบัติได้จริงเป็นรูปธรรมใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านเกษตรและอาหาร 2.ด้านสุขภาพและการแพทย์ 3.ด้านพลังงานและวัสดุ และ 4.ด้านพลังงานและการท่องเที่ยว โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวแสดงความยินดีกับทุกทีมที่เข้ารอบ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
หลังฝ่าฟันจากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 308 ทีมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทีมแฟรี่แลนด์จรเข้ใหญ่ ของ ต.จรเข้ใหญ่ จ.สุพรรณบุรี โดยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ส่งผลงาน “ผงโปรตีนปรุงรสผสมกาบา” คว้าแชมป์ด้านสุขภาพและการแพทย์ในการแข่งขัน U2T for BCG National Hackathon 2022 ได้สำเร็จ รับรางวัลจาก ศ.ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ระยะเวลากว่า 3 เดือนของคณะทำงานประกอบด้วย สำนักการศึกษาทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ และคณะการจัดการธุรกิจอาหาร ระดมความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับคนในชุมชน ต.จรเข้ใหญ่ จ.สุพรรณบุรี มีเป้าหมายเพื่อต้องการลดขยะที่เกิดจากเศษซากปลามาเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน จึงริเริ่มนำส่วนประกอบของปลาที่เหลือมาสกัดสารออกมาโดยเฉพาะโปรตีน ผสมกับสารกาบาที่มีอยู่ในข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นผงปรุงรสที่มีคุณค่าทางสารอาหาร อร่อย ไร้โซเดียม เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ป่วยกลุ่มโรคกลุ่ม NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น
ก้าวถัดไปของผลงานดังกล่าวอยู่ระหว่างการผลักดันให้ได้มาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบคุณภาพ และมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องให้มั่นใจได้ว่าผงปรุงรสจะมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่สนใจเทรนด์ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพได้เข้ามาร่วมวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างเป็นรูปธรรม ต่อยอดเป็นสินค้าเข้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้กลับสู่ชุมชน ทั้งนี้โครงการได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนและองค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้ใหญ่ จ.สุพรรณบุรี ในการค้นคว้าวิจัยตั้งแต่เริ่มต้น เป็นการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยสู่ตำบล โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือสร้างผลงานที่มีคุณค่า ใช้จุดแข็งและองค์ความรู้ด้านวิชาการ นวัตกรรม สนับสนุนให้เกิดการแก้ปัญหาขยะ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่าทางอุตสาหกรรมอาหารได้ในอนาคต เป็นหนึ่งในเส้นทางเศรษฐกิจฐานรากหรือเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งขึ้น มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ก่อให้เกิดการยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนอย่างยั่งยืนได้
คณะทำงาน ทีมแฟรี่แลนด์จรเข้ใหญ่ ของ ต.จรเข้ใหญ่ จ.สุพรรณบุรี โดยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ที่ปรึกษาโครงการ
ผศ.ดร. ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล
รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาการศึกษา
รักษาการคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
รักษาการผู้อำนวยการสำนักการศึกษาทั่วไป
สำนักการศึกษาทั่วไป
อ.ดร. นิธิภัทร กมลสุข รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร
อ.พงศกร จันทร์ฉาย รักษาการรองผู้อำนวยการ ฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพ
อ.ดร.เอกอนงค์ คงประสม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักการศึกษาทั่วไป
อ.ณิชดนีย์ ธัญพรหิรัณย์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาทักษะและภาษา
ผศ.ดร. นพมาศ ปลัดกอง หัวหน้ากลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
คุณรำพึง กลิ่นชั้น ผู้บริหารกลุ่มงานอาวุโส ศูนย์พัฒนาทักษะและภาษา
อ.ดร.เอกนรินทร์ จิรชีวีวงศ์ อาจารย์ประจำ กลุ่มวิชาภาษาจีน
อ.ปรัชญา เกียรติกุล อาจารย์ประจำ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ
อ.ศศิวิมล คงสุวรรณ อาจารย์ประจำ กลุ่มวิชาภาษาไทย
ผศ.ชุติธารรัฐ อุตมะสิริเสนี อาจารย์ประจำ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ผศ.สิทธิกรณ์ คำรอด อาจารย์ประจำ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
นางสาวดรุณี จันทกุล เจ้าหน้าที่อาวุโส งานเลขานุการสำนัก
คณะบริหารธุรกิจ
ผศ.ดร. จิรวุฒิ หลอมประโคน รองคณบดีฝ่ายบริหาร
อ.พรหมสร เดชากวินกุล ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
อ.กิตติพงศ์ คงธนาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมบริหารธุรกิจ
ผศ.ดร.จารุวรรณ เมืองเจริญ รองผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
ดร.วรรณนัฎฐา ขนิษฐบุตร รองหัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
ดร.บัญชา ลิมปะพันธุ์ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
ดร.กนิษฐา ฤทธิ์คำรพ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
ผศ.ดร.สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
อ.กิตติภพ ตันสุวรรณ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
อ.ณัฐินี พิทักษ์ตุ้ม อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
อ.ณัฏฐชัย อ่อนคง อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
อ.สิทธิโชค รัชนิพนธ์ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
คุณประไพ ยิ่งสกุล ผู้บริหารกลุ่มงานอาวุโส สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
คุณอรรถพล จิระทัศนกุล ผู้บริหารกลุ่มงานศูนย์นวัตกรรมบริหารธุรกิจ
คุณพรรชล กาญจนมหานที ผู้บริหารกลุ่มงาน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
คุณศิวพร บุตราช ผู้บริหารกลุ่มงาน งานเลขานุการคณ
คณะการจัดการธุรกิจอาหาร
อ.ดร.ภัทราภรณ์ สุขขาว อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจภัตตาคาร
อ.ดร.สิริพร แช่มสนิท อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจภัตตาคาร