สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2565 ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดงาน การนี้สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ได้ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ ถวายรายงาน พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงการวิทยาศาสตร์สุขภาพ และรักษาการ คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ บุญปาน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร พีไอเอ็ม ได้รับเกียรติร่วมบรรยายการนำเสนอผลงานวิจัยภาคการประชุม เสวนาเรื่อง “อาหารฟังก์ชันแห่งโลกอนาคตและมิติใหม่ของสุขภาพ (Future Functional Food and New Frontier of Health)” ดำเนินการเสวนาโดย คุณศิรินทรา บุญสำเร็จ ผู้ช่วยผู้บริหาร สำนักอธิการบดีและบริหารความยั่งยืน พีไอเอ็ม เสริมทัพด้วยคณะผู้บริหาร นักวิจัย คณาจารย์ พีไอเอ็ม ผนึกกำลังการขับเคลื่อน ยกระดับการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมสู่เวทีสำคัญ อาทิ ดร. พรรค ธารดำรงค์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา คณบดี วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาจีน, ดร.มนตรี คงตระกูลเทียน คณบดี คณะเกษตรนวัตและการจัดการ, ดร. นฤมล เพ็ชรสุวรรณ รักษาการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทัศนียา วังสะจันทานนท์ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ โดยความร่วมมือของสำนักวิจัยและพัฒนา คณะบริหารธุรกิจ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร คณะวิทยาการจัดการ คณะเกษตรนวัตและการจัดการ คณะพยาบาลศาสตร์ ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคนิทรรศการ บทความผลงานวิจัย รวมถึงนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ และ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร พีไอเอ็ม คว้ารางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร และ รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ในโอกาสนี้ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
ด้านการนำเสนอผลงานวิจัยภาคการประชุม พีไอเอ็มได้รับเกียรติร่วมงานบนเวทีเสวนาเรื่อง “อาหารฟังก์ชันแห่งโลกอนาคตและมิติใหม่ของสุขภาพ (Future Functional Food and New Frontier of Health)” โดยวิทยากร นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ นักธุรกิจจากแวดวงอาหารและสุขภาพ ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงการวิทยาศาสตร์สุขภาพ และรักษาการคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ พีไอเอ็ม, คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี ฟู้ตส์ (ประเทศไทย) จำกัด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ บุญปาน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร พีไอเอ็ม, คุณชวนัสถ์ สินธุเขียว นายกสมาคมส่งเสริมสุขภาพบริการสุขภาพเชียงใหม่และกรรมการรองเลขาธิการ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และคุณศิรินทรา บุญสำเร็จ ผู้ช่วยผู้บริหาร สำนักอธิการบดีและบริหารความยั่งยืน พีไอเอ็ม ผู้ดำเนินการเสวนา นับเป็นเวทีที่แชร์ข้อมูลอันน่าสนใจผสานเนื้อหาด้านเฮลท์แคร์ อาหาร เทคโนโลยี อุตสาหกรรมไว้ด้วยกัน เผยถึงมิติใหม่ให้เห็นภาพรวมด้านเทรนด์สุขภาพของทั่วโลกและในประเทศไทย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยใหม่ ไม่ใช่การให้ความสำคัญเฉพาะเพียงการรักษา แต่มนุษย์จะตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสุขภาวะที่ดี ที่สมดุลย์และสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ระบบการดูแลสุขภาพ ภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ธุรกิจรูปแบบใหม่พัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ได้แก่ อาหารฟังก์ชั่น อาหารทางการแพทย์ อาหารอินทรีย์ อาหารนวัตกรรมใหม่ ล้วนเป็นด้านสำคัญที่เป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับศักยภาพอาหารไทยสู่สากลได้ ผ่านการทำเครือข่ายร่วมกับอุตสาหกรรมการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) เช่น ด้านธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร สปา กีฬา เป็นโอกาสและใช้ความได้เปรียบของประเทศไทยด้าน Thailand Wellness Destination ในการเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางจาก การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism) ในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยได้ต่อไป สอดคล้องกับแนวคิด วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้เข้าร่วมงานที่จัดทั้งในรูปแบบ Onsite และแบบ Online ณ ห้องโลตัส ชั้น 22 และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา
สำหรับงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงศักยภาพของงานวิจัยที่เป็นกลไกสำคัญในการช่วยแก้ไขและพัฒนาประเทศ ถือเป็นเวทีระดับชาติที่จะนำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อเชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์และพัฒนาประเทศทั้งในเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม ชุมชน พาณิชย์ และอุตสาหกรรม ที่คัดสรรผลงานวิจัยและนวัตกรรม กว่า 700 ผลงาน ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และคนรุ่นใหม่ได้ใกล้ชิดกับผลงานวิจัยที่ใช้ได้จริง ซึ่งสถาบันฯ นำโดย สำนักวิจัยและพัฒนานำคณะนักวิจัย นักศึกษาเข้าร่วมงาน และร่วมส่งผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากคณะบริหารธุรกิจ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร คณะวิทยาการจัดการ คณะเกษตรนวัตและการจัดการ ใน Theme งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์เชิงการพัฒนาพื้นที่ ดังนี้
การนำเสนอผลงานวิจัยภาคนิทรรศการ จำนวน 6 ผลงาน ได้แก่
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์บิสกิตเพื่อสุขภาพชนิดใหม่ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำจากมันเทศสีม่วง โดยอาจารย์พวงเพ็ชร์ นิธยานนท์ คณบดี คณะการจัดการธุรกิจอาหาร รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ศูนย์รับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้านอาหาร และคณะนักวิจัย
- งานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสมะละกอเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน บ้านสวนละออ อำเภอแม่สอด จังหวัดอาจารย์พวงเพ็ชร์ นิธยานนท์ คณบดี คณะการจัดการธุรกิจอาหาร รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ศูนย์รับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้านอาหาร และคณะนักวิจัย
- การศึกษาวิธีการสกัดและศักยภาพในการประยุกต์ใช้สารสกัดจาก Ice Plant ในเครื่องสำอางสำหรับผิวเชิงพาณิชย์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชัยรัตน์ บูรณะ รักษาการผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเกษตรนวัตและการจัดการ และคณะนักวิจัย
- การประเมินการกระจายตัวและความสม่ำเสมอของการฉีดพ่นโดยการใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในนาข้าว ดร.ณภัทร กำธรสิริวิมล รักษาการผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรนวัตและการจัดการ และคณะนักวิจัย
- แนวทางในการพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษานิติบุคคลอาคารชุดเมโทรลักซ์ รัชดา โดยนางสาวกันต์กนิษฐ์ ฤทธิศักดิ์ นักศึกษาและ อาจารย์นวินดา ตุลาภรณ์ อาจารย์ประจำ คณะวิทยาการจัดการ
- การพัฒนาคู่มือการตรวจสอบลักษณะกายภาพและการใช้งานอาคาร กรณีศึกษานิติบุคคลอาคารชุด แอสไพร์ พระราม 9 น.ส.รดาสิริ เคหะจิตต์ นักศึกษาและอาจารย์ชิษณุชา ขุนจง หัวหน้าสาขา คณะวิทยาการจัดการ
การเข้าร่วมประกวด Thailand Research Expo 2022 Award จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์บิสกิตเพื่อสุขภาพชนิดใหม่ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำจากมันเทศสีม่วง โดยอาจารย์พวงเพ็ชร์ นิธยานนท์ คณบดี คณะการจัดการธุรกิจอาหาร รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ศูนย์รับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้านอาหาร และคณะนักวิจัย
- การศึกษาวิธีการสกัดและศักยภาพในการประยุกต์ใช้สารสกัดจาก Ice Plant ในเครื่องสำอางสำหรับผิวเชิงพาณิชย์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชัยรัตน์ บูรณะ รักษาการผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเกษตรนวัตและการจัดการ และคณะนักวิจัย
การนำเสนอบทความผลงานวิจัย Thailand Research Expo: Symposium 2022
- Prof.Dr.Tang Zhimin ผู้บริหารประจำสำนัก สำนักอธิการบดีและบริหารความยั่งยืน รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา นำเสนอในหัวข้อ งานวิจัยเชิงนโยบายและเกษตร โครงการยุทธศาสตร์การตลาดนำเพื่อการส่งออกผลไม้ไทยสู่ตลาดจีนรวมบริบทการแพร่ระบาด Covid 19
การเข้าร่วมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา โดยมีผลงานของนักศึกษาได้รับรางวัลจำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
1. รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร
ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบน้ำพริกคณาศรีเสริมแคลเซียมและใยอาหาร ผลงานนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ และ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร จากผลวิจัยพบว่านอกจากเนื้อปลา ในส่วนของหัว ก้าง เกล็ดปลา มีคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคลเซียมสูง ทางผู้จัดทำจึงได้คิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ ข้าวเกรียบน้ำพริกเสริมแคลเซียมและใยอาหาร ที่มีแคลเซียมและใยอาหารจากส่วนที่เป็น waste มาเป็นวัตถุดิบหลัก โดยผ่านกระบวนการ Food Tech และยังเพิ่มความหอมของพืชสมุนไพร ให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน
ที่ปรึกษาโครงการ
อาจารย์สุภาพร สังข์ศรีอินทร์
อาจารย์เปรมมิกา ศิริวิเศษวงศ์
อาจารย์กิตติภพ ตันสุวรรณ
อาจารย์กฤตภพ วรอรรคธรรม
คุณจิรวงศ์ โตโสม
2. รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
สลีปเปอร์ประคบร้อนสมุนไพร ผลงานนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจเป็นการนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณบรรเทาปวดมาใช้เป็นส่วนประกอบและมีตัวความร้อนที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กลายเป็นรองเท้าสลีปเปอร์ และยังใช้ลวดลายผ้าบาติกสินค้า OTOP ของ จังหวัดสงขลา มีส่วนช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชน นำสินค้าภายในชุมชนมากระจายให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ที่ปรึกษาโครงการ
อาจารย์สุภาพร สังข์ศรีอินทร์
คุณอรรถพล จิระทัศนกุล
ซึ่งถือเป็นผลงานและรางวัลที่สร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) เป็นที่ยอมรับของแวดวงด้านการศึกษา สร้างความภาคภูมิใจบนเวทีนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ที่แสดงถึงผลงานด้านวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เต็มเปี่ยมด้วยความก้าวหน้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพ พร้อมใช้ประโยชน์และเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณะ กระจายโอกาสการเข้าถึงฐานข้อมูลความรู้การวิจัยและนวัตกรรม และเพื่อเป็นการเสริมให้เกิดกลไกสนับสนุนและพัฒนาการวิจัย รวมถึงส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศในอนาคต