ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะศิลปศาสตร์สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) นำนวัตกรรม “AppointMed” แอปพลิเคชันช่วยเก็บข้อมูล แจ้งเตือนใบนัดแพทย์ จัดการตารางการทานยา และช่วยการจัดการผู้รับผิดชอบผู้พาป่วยไปพบแพทย์ ให้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการ Ford+ Innovator Scholarship 2021 ในหัวข้อ “นวัตกรรมพลังบวกเพื่อโลกที่น่าอยู่ (Plus For A Better World Challenge)” เวทีประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์เสริมแกร่งนวัตกรรุ่นใหม่ จัดโดย ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด เปิดโอกาสให้นักศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ได้มีเวทีแสดงผลงานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ประสบการณ์ นำมาพัฒนาเป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์และสามารถต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทย โดยรอบสุดท้ายจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 ณ The Knowledge Exchange: KX อาคารเคเอกซ์ ถนนกรุงธนบุรี
“AppointMed” แอปพลิเคชันเพื่อสังคม Sector: นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ โดยนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ประกอบด้วย นายวรชิต จันทรงชัยนายณัฐวัฒน์ อภิชิตปิติพงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ นายดุลยวิชญ์ ปานกลาง และ นางสาวพัทรนันท์ พิมพ์สุภางค์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี คิดคอนเซปท์จากการจัดการผู้ป่วยที่หลายครั้งยากต่อการเข้าใจ และต้องการแก้ไขปัญหาให้การเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น แม้จะต้องไปหลายโรงพยาบาล แอปพลิเคชันจะช่วยเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนใบนัดแพทย์ การทานยา รวมไปถึงช่วยเหลือจัดตารางผู้ที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ ลดความสับสน ใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น หลักการทำงานของแอปพลิเคชัน คือ ผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพรวมการแจ้งเตือนและนัดหมายต่างๆ ได้ในหน้าเดียว โดยฟีเจอร์หลักจะแสดง ใบนัดแพทย์ ตารางทานยาประจำตัว เพิ่มผู้รับผิดชอบผู้พาป่วยไปพบแพทย์ ทั้งนี้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับ AppointMed ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกรียงไกร ทัศนวิภาส ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พีไอเอ็ม และ อาจารย์พิชญา ติยะรัตนาชัย หัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ ร่วมกันเป็นที่ปรึกษาโปรเจกต์
นายณัฐวัฒน์ อภิชิตปิติพงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ กล่าวว่า”ได้รับโจทย์ด้านความปลอดภัย ด้านสุขภาพมาจาก ฟอร์ด เราเห็นพ้องต้องกันว่าอยากทำด้านสุขภาพ เพราะประเทศไทยเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุด้วย อีกทั้งผมกับเพื่อนเคยฝึกงานที่โรงพยาบาลมาก่อนเลยทำให้เห็น Pain Point หลายอย่าง สิ่งที่พบบ่อยคือ ใบนัดแพทย์ ซึ่งมักเกิดการสูญหาย ลืมนัด หรือผู้ป่วยอ่านใบนัดไม่เข้าใจ บางท่านต้องรักษาหลายที่ทำให้ต้องมีแอปหลายโรงพยาบาลทำให้เกิดความสับสน และปัญหาการทานยาไม่ตรงเวลา ทานยาผิดรายการ รวมถึงการจัดตารางเวลาผู้ป่วยพบแพทย์ จึงมีไอเดียว่าหากเรามีแอปที่สามารถช่วยเรื่องเหล่านี้ได้ก็คงสะดวกดี”
ด้าน นางสาวพัทรนันท์ พิมพ์สุภางค์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเสริมว่า”การทำงานของทีมเราลงตัวกันมากๆ วิศวะเป็น Developer เรารับผิดชอบงานหลังบ้าน หลังจากได้ไอเดียมาก็ลงมือดีไซน์ เขียนแอป พัฒนา และเก็บข้อมูล ทำให้มี 3 ฟีเจอร์หลักๆ คือ ใบนัดแพทย์ ตารางการกินยา และการจัดการผู้รับผิดชอบผู้พาป่วยไปพบแพทย์ เน้นออกแบบให้เป็น User Friendly ใช้ง่าย สะดวกสบาย ส่วนเพื่อนคณะศิลปศาสตร์ ดูแลคอนเทนท์ Brand Positioning วิเคราห์การตลาด หาข้อมูล วิเคราห์กลุ่มเป้าหมาย ลักษณะการหารายได้จากช่องทางต่างๆ ขอขอบคุณโครงการนี้ที่เปิดโอกาสได้มาโชว์ไอเดียค่ะ ได้คำแนะนำเพื่อมาปรับใช้กับผลงาน ตอนนี้อยู่ระหว่างพัฒนาแอพให้ออกมาดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งาน ในอนาคตหวังว่าจะต่อยอดไปถึงการเป็นสตาร์ทอัพเล็กๆ ได้”
นวัตกรรมมีบทบาทในการขับเคลื่อนวิถีชีวิตของทุกคนทั้งในด้านการดำเนินชีวิต การศึกษา การทำงาน สุขภาพ พีไอเอ็มจึงผลักดันและให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ของนวัตกรรุ่นใหม่ สนับสนุนนักศึกษาที่มีแรงบันดาลใจหรือไอเดียที่สามารถตอบโจทย์และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม พัฒนาให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดขึ้นได้จริงเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างคณะวิชา ผสานความเชี่ยวชาญของ 2 ศาสตร์แตกต่างสร้างนวัตกรรมได้อย่างลงตัว ในขณะเดียวกันการเพิ่มศักยภาพให้แก่ตัวนักศึกษา นอกจากความรู้แล้วและยังมีสิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั้นคือ “ทักษะ” (Skills) โดยเน้นการพัฒนาทั้ง Hard Skills และ Soft Skills อาทิ ด้านวิศวกรรม ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ด้าน AI ด้านการสื่อสาร ด้านภาษา ด้านการประยุกต์ และด้านการบริการจัดการ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานของงานใหม่ในอนาคต จึงต้องอาศัยความชำนาญมากขึ้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าเทรนด์ด้านดิจิทัลกำลังเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เปลี่ยนวิธีคิดต่อการเรียนรู้และการทำงานของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม สถาบันการศึกษาจำเป็นต้องเตรียมคนให้เข้ากับโลกอนาคตที่ไม่หยุดนิ่งและไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ นี้ได้นวัตกรรมมีบทบาทในการขับเคลื่อนวิถีชีวิตของทุกคนทั้งในด้านการดำเนินชีวิต การศึกษา การทำงาน สุขภาพ พีไอเอ็มจึงผลักดันและให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ของนวัตกรรุ่นใหม่ สนับสนุนนักศึกษาที่มีแรงบันดาลใจหรือไอเดียที่สามารถตอบโจทย์และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม พัฒนาให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดขึ้นได้จริงเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ในขณะเดียวกันการเพิ่มศักยภาพให้แก่ตัวนักศึกษา นอกจากความรู้แล้วและยังมีสิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั้นคือ “ทักษะ” (Skills) โดยเน้นการพัฒนาทั้ง Hard Skills และ Soft Skills อาทิ ด้านวิศวกรรม ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ด้าน AI ด้านการสื่อสาร ด้านภาษา ด้านการประยุกต์ และด้านการบริการจัดการ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานของงานใหม่ในอนาคต จึงต้องอาศัยความชำนาญมากขึ้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าเทรนด์ด้านดิจิทัลกำลังเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เปลี่ยนวิธีคิดต่อการเรียนรู้และการทำงานของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม สถาบันการศึกษาจำเป็นต้องเตรียมคนให้เข้ากับโลกอนาคตที่ไม่หยุดนิ่งและไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ นี้ได้