วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ช่วงเสวนาภาคบ่าย ภายใต้หัวข้อ “TURNING POINT OF GLOBALIZATION ซัพพลายเชนโลก การค้าระหว่างประเทศ และโลกาภิวัตน์ที่กำลังกลายพันธุ์” ช่วงดังกล่าว ประกอบด้วยวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคุณประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และดำเนินรายการโดย คุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร The Standard นับเป็นช่วงสำคัญจากตัวแทนทั้ง 3 ฝ่าย ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการ แชร์ทรรศนะทางรอดในความปกติใหม่ เสวนาที่เผยข้อมูลน่ารู้เพื่อเตรียมรับมือโลกหลังโควิด-19
ด้านรองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ ได้ให้ความเห็นในมุมของนักวิชาการเกี่ยวกับ หัวข้อดังกล่าว แนะตัวแปรสำคัญตั้งแต่ระดับประเทศ องค์กรธุรกิจ และประชาชน เพื่อชิงความได้เปรียบและการปรับตัวในอนาคตอันใกล้ ดังนี้
🌎Globalization Management ประกอบไปด้วย 7 เรื่อง
1. Healthcare Management
2. Climate Change
3. Ethic and Governance
4. Stakeholder Economyสำคัญมากกว่า Shareholder
5. Sustainability
6. Strategic
7. Innovation Management : Real Virtual มีแนวโน้มชะลอตัวลงส่วนVirtual Economy จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น
☑️ชี้ 4 แนวโน้มปัจจัยระดับ Macro
1 Localization
2 Neighborization
3 Regionalization
4 Globalization
พร้อมแนะแนวทางการปรับตัวหลังโควิท 19
-“เบญจวิถี”
5 สิ่งสำคัญ! ที่ต้องคำนึงในภาวะการณ์ยุคนี้
-“การเตรียมคน สร้างคน”ภายใต้โลกยุคใหม่
5 เก่ง คุณสมบัติของทรัพยากรบุคคลพึงมี สร้างได้ผ่านบทบาทหน้าที่ของสถาบันการศึกษา
💡อย่างไรก็ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน หลังจากนี้สิ่งที่ต้องรับมือ คือ การบริหารในหลายๆ ด้านทั้งเรื่องการบริหารสุขอนามัยที่ต้องเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นนิสัยถาวรเพื่อช่วยในด้านภาพลักษณ์ของประเทศ ผสานไปกับความปลอดภัยด้านเศรษฐกิจ ทิ้งท้ายด้วยสิ่งสำคัญการปรับตัวเพื่อรับมือในยุค Disruption คือ ความยืดหยุ่น, ความยั่งยืน, การกระจายตัว และความมีประสิทธิภาพ ที่ต้องจัดการตั้งแต่ระดับประเทศชาติ รัฐบาล องค์กรธุรกิจและประชาชนต่อไป