สายงาน IT
สำหรับสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ (DIT)
และสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (CAI)
เครือข่ายองค์กรพันธมิตรในสายงาน IT มีทั้งบริษัททางด้าน IT, Software, Computer และองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่สามารถให้นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ และสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ไปฝึกฝนทักษะความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เช่น
– ทักษะการจัดการระบบฐานข้อมูล (Database System) สามารถออกแบบฐานข้อมูลด้วยเทคนิคต่างๆ
– ทักษะการวิเคราะห์ Big Data สามารถนำข้อมูลขนาดใหญ่ไปใช้ในเชิงธุรกิจได้
– ทักษะการเขียนโปรแกรม และทดสอบโปรแกรมในเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ
– ทักษะการดูแลระบบ Cloud เรียนรู้การทำงานของระบบเครือข่าย การจัดเก็บข้อมูล การโปรแกรมระบบคลาวด์ และการประมวลผลออนไลน์ (Cloud Computing)
– ทักษะด้าน Cybersecurity หรือการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อป้องกันอันตรายในโลกออนไลน์
และในส่วนของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะมีทักษะเพิ่มเติมในด้านการพัฒนา Hardware, AI, Machine learning
เส้นทางการประกอบอาชีพ
• Programmer
• Software Tester / Software Engineer
• Developer (Website/ Application/ Mobile)
• IT Support / Technical Support
• Network Administrator / Network Engineer
• System Administrator
• Business System Analyst
• Security System Engineer
• Cybersecurity
• Data Scientist / Data Engineer
• AI / Machine Learning Engineer
• Animator
สายงานอุตสาหกรรม
สำหรับสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ (AME)
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ (IEM)
สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (RAE)
เครือข่ายองค์กรพันธมิตรในสายงานอุตสาหกรรม มีองค์กรธุรกิจที่นักศึกษาวิศวะ PIM ไปฝึกงานได้หลากหลาย เช่น บริษัทผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ หุ่นยนต์ โดรน, โรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า พลาสติก ฯลฯ โดยทักษะต่างๆ ที่นักศึกษาสามารถฝึกฝนได้ในระหว่างที่ฝึกปฏิบัติงานอยู่ ได้แก่
– ทักษะการจัดการกระบวนการผลิต สามารถวางแผนการผลิต และการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ในโรงงานได้
– ทักษะการออกแบบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วนหุ่นยนต์ โดยรู้จักคุณสมบัติและการเลือกใช้วัสดุ ตลอดจนสามารถใช้อุปกรณ์สื่อสารในระบบอัตโนมัติเพื่อเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ และใช้โปรแกรมควบคุมระบบการผลิตและหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
– ทักษะการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับงานอุตสาหกรรม, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, ระบบผลิตเสมือนจริง (Virtual Manufacturing), ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), การประมวลผลและเก็บข้อมูลด้วยคลาวด์ (Cloud Computing) และสามารถนำระบบการผลิตอัจฉริยะต่างๆ เหล่านี้มาใช้ร่วมกันในงานอุตสาหกรรม
เส้นทางการประกอบอาชีพ
• วิศวกรวางแผนการผลิต
• วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม
• วิศวกรคุณภาพและประกันคุณภาพ (QA / QC)
• วิศวกรควบคุมการผลิตระบบการผลิตอัจฉริยะ
• วิศวกรบำรุงรักษา
• วิศวกรยานยนต์
• วิศวกรหุ่นยนต์
• วิศวกรระบบอัตโนมัติ
เครือข่ายต่างประเทศ
คณะวิศวะ PIM นำนักศึกษาเปิดประสบการณ์ฝึกงานและการทำงานในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เรามีองค์กรพันธมิตรที่สนับสนุนการสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพพร้อมทำงานในระดับสากล โดยอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา
โครงการที่ตอบโจทย์นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย และความต้องการวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน ได้แก่
• โครงการความร่วมมือวิศวกรรมด้าน Construction Machinery สาธารณรัฐประชาชนจีน
• โครงการฝึกงานและบรรจุงานด้านวิศวกรรม ณ เมืองคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น
• PIM x Taiwan Connect Program ที่ไต้หวัน
นักศึกษาในโครงการเหล่านี้นอกจากจะได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ในงานวิศวกรรม ฝึกปฏิบัติงานในต่างประเทศแล้ว ยังได้เพิ่มพูนทักษะภาษา และเรียนรู้นวัตกรรมตลอดจนเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศอีกด้วย