ฟ้าเปิดแล้ว! อุตสาหกรรมการบินพร้อมทะยานสู่โลกกว้าง
อุตสาหกรรมการบินปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ Covid -19 แพร่ระบาด โดยนำนวัตกรรมและระบบอัตโนมัติต่างๆ มาใช้ทำการบินและให้บริการผู้โดยสาร รวมถึงปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น
เมื่อฟ้าเปิดแล้ว สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน คณะวิทยาการจัดการ พีไอเอ็ม ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถและทักษะที่รอบด้านพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกสถานการณ์ เมื่ออุตสาหกรรมการบินกลับมาบูมอีกครั้ง บัณฑิต AVI จึงพร้อมทะยานสู่โลกกว้าง
สมัครเรียนคณะวิทยาการจัดการ พีไอเอ็ม
Scan QR Code เข้ากลุ่ม
Line Openchat : #DEK67 Learn&Work PIM
Link : https://www.pim.ac.th/dek67learnworkline
กรอกข้อมูลสมัคร : https://www.pim.ac.th/dek67learnwork
—————————————
#LearnAndWork #เรียนแล้วเวิร์คทำงานแล้วเวิร์ค #CorporateUniversity #มหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ #TeamPIM #Dek67 #Dek66 #TCAS66 #TGAT66 #TPAT66 #Portfolio #TeamMS
Recovery การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินหลังการแพร่ระบาดของโควิดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้อุตสาหกรรมการบินและการบริการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตลาดขนส่งสินค้าทางอากาศได้เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของอุตสาหกรรมนี้
Policy นโยบายภาครัฐที่ประกาศเปิดประตูรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการบินอย่างต่อเนื่อง สนามบินสุวรรณภูมิมีเที่ยวบิน 800 เที่ยวบิน/วัน เมื่อรวมสนามบินทั้งประเทศมีเที่ยวบิน 2,000 เที่ยวบิน/วัน นักท่องเที่ยว 300,000 คน/วัน หรือประมาณ 25 ล้านคน/ปี
Hub of Southeast Asia ประเทศไทยเป็นหมุดหมายด้านการเดินทางและการท่องเที่ยว เมื่ออุตสาหกรรมการบินฟื้นตัวและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศทยอยเข้ามาเที่ยวไทยตามนโยบายของภาครัฐ เริ่มก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยานเพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาสู่มหานครการบินครบวงจร ทำให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านการบินต้องเร่งผลิตบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินทั้งฝ่ายปฏิบัติการบินและฝ่ายสนับสนุนการบิน เช่น นักบินเครื่องบินพาณิชย์ (Airline Pilot) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant/Cabin Crew/Cabin Attendant) เจ้าหน้าที่จองตั๋วเครื่องบิน (Reservation Sales Agent) พนักงานบริการภาคพื้น (Ground Attendant/Ground Services/Airport Station Attendant) เจ้าหน้าที่ฝ่ายครัวการบิน (Catering)
Airport Operations รายได้จากการดำเนินงานของท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินมาจากค่าธรรมเนียมในการขึ้น-ลงอากาศยาน ค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ทำให้อาชีพในอุตสาหกรรมการบินขยายตัวมากขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller) เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (Ground Equipment Services) วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Engineer)
Passenger Transportation Service รายได้มีแนวโน้มดีขึ้นตามจำนวนผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าที่ปรับขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รายได้มาจากการรับฝากและการกระจายสินค้า การบริหารจัดการขนส่งผู้โดยสารและพิธีการศุลกากร ทำให้เกิดอาชีพอื่นๆ ตามมา เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Services) เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เจ้าหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัย (Security Officer) เจ้าหน้าที่คลังสินค้า (Warehouse Staff)
แหล่งข้อมูล
www.matichonweekly.com/
www.krungsri.com/