วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (International College, Panyapiwat Institute of Management) เปิดการแข่งขัน PIM International Hackathon ครั้งที่ 3 ประจำปี 2566 ภายใต้คอนเซปท์ “Sustainable Well-being towards Zero-Green-Clean Economy” โดยได้รับการสนับสนุนจาก HSBC Thailand – บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) – คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) – ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) – ทรู ดิจิทัล พาร์ค (True Digital Park) – สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park) – กลุ่มบริษัท 500 Startups (กองทุน 500 ตุ๊กตุ๊ก) – บริษัท ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ จำกัด (กองทุน ดิสรัปท์อิมแพค) และ Mitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) เวทีแข่งขันไอเดียสร้างสรรค์ของเยาวชนเพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ปลูกฝังให้กล้าคิดรอบด้าน กล้าตั้งคำถาม แสวงหาแนวทางแก้ปัญหา เป็นกระบอกเสียงเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ต่อสังคม และมีโอกาสพัฒนาไอเดียธุรกิจกับผู้เชี่ยวชาญสู่ตลาดในระดับนานาชาติ ชิงรางวัลและทุนการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่) หลักสูตรนานาชาติ BBA in Modern Trade Business Management (iMTM) และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ) หลักสูตรนานาชาติ Master of Business Administration Program in International Business (iMBA) รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ณ True Digital Park และ Live Streaming ทาง Fanpage PIM Inter Hackathon
ภายในงานได้รับเกียรติจากผู้บริหารสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีอาวุโส สายวิชาการ คุณสยาม โชคสว่างวงศ์ รองอธิการบดีอาวุโส สายบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีริสา โชติยะปุตตะ รักษาการคณบดี วิทยาลัยนานาชาติ พร้อมด้วยตัวแทนผู้สนับสนุนและเครือข่ายพันธมิตรคุณธีรฉัตร วงมาศา Vice President Human Resources Relationship Management, HSBC Thailand ดร.ชัยสิทธิ์ กำธรกิตติกุล FAC Division Manager Mitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) Co., Ltd. รศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์ General Manager True Digital Park คุณสุณัฎฐา พงษ์เจริญ Foresight Research Director, FutureTales Lab by MQDC รศ.ดร.อภิชาต ประดิษฐสมานนท์ Vice President Research for Innovation, RISC ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park) คุณปารดา ทรัพย์ประเสริฐ Partner 500 Global Thailand คุณวิริยา ศักดิ์เจริญชัย Investment Associate – Disrupt Technology Venture คุณบอย โกสิยพงษ์ Executive Producer and Music Composer ตลอดจนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ อาจารย์ นักศึกษา ร่วมงานและแสดงพลังต่อการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมตระหนักถึงคุณค่า ขณะเดียวกันยังเป็นโอกาสอันดีของการจุดประกายไอเดียใหม่เพื่อการเริ่มพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมควบคู่กัน
กิจกรรมเริ่มด้วย อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล กล่าวต้อนรับและเปิดงาน จากนั้นเข้าสู่ช่วงบรรยาย รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา RISC by MQDC แชร์เรื่องของ Nature Positive, Carbon Negative 2050 คุณบอย โกสิยพงษ์ แบ่งปันแนวคิด 1 Degree: Less Effort, More Impact เชื่อว่าหากทุกคนปรับวิถีชีวิตโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอาจพลิกวิกฤตได้ ทั้งยังยกตัวอย่างองค์กรที่มีพันธมิตรเกี่ยวกับลดโลกร้อน เช่น การสะสมคาร์บอนเครดิต ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น อีกทั้งสนับสนุนให้พ่อแม่สร้างความเป็น Green Citizen ปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่เด็ก ปิดท้าย คุณปารดา ทรัพย์ประเสริฐ บรรยายในหัวข้อ A Perspective from VCs: The Basic of Raising Capital for a Startup ทั้งนี้ความรู้จากวิทยากร 3 ท่าน ทำให้ผู้เข้าแข่งขันเกิดการเรียนรู้และนำแนวทางมาปรับใช้กับผลงานตนเองให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มความมั่นใจสู่การเป็นสตาร์ทอัพได้จริง มากไปกว่านั้นแนวทางต่างๆ ยังปลุกให้คนตื่นตัวเห็นคุณค่าสิ่งแวดล้อม สร้างกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสิ่งใหม่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกทางสังคม
สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการในระดับมหาวิทยาลัยมีจำนวน 36 ทีมจากทั่วประเทศ โดยจะผ่านกระบวนการให้คําปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ การนำเสนอผ่านคลิปวิดีโอ การรับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการ ไปจนถึงการประกาศผลรอบสุดท้ายในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีจำนวน 37 ทีม ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการทั้งหมดเช่นเดียวกันและจะประกาศผลรอบสุดท้ายในวัน 8 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตามร่วมเป็นกำลังใจให้เยาวชนโชว์ไอเดียสุดเจ๋งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมสีเขียวในทุกภาคส่วน และยกระดับ Net Zero ของประเทศให้เกิดขึ้นได้จริง พร้อมพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีแก่คนไทยอย่างยั่งยืน ติดตามการแข่งขันได้ที่ Fanpage: PIM Inter Hackathon https://www.facebook.com/PIMInterHackathon