นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร และคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ส่งผลงานแนวคิดนวัตกรรมสร้างสรรค์ในโครงการ Build On, ASEAN 2020 Hackathon Amazon Web Services (AWS) คือโครงการที่เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ทั่วประเทศได้สร้างสรรค์ พัฒนา และแข่งขันไอเดียผ่าน Prototype ข้อเสนอทางธุรกิจ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เมื่อได้รับการคัดเลือกทุกทีมต้องเข้าอบรมหลักสูตร AWS Advance และรับหัวข้อจากองค์กรที่เข้าร่วมในโครงการ เพื่อนำมา Pitching ในรอบตัดสิน เมื่อวันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ True Digital Park โดยทีมนักศึกษาพีไอเอ็มกวาดรางวัลกลับบ้าน 4 ทีม ได้แก่
รางวัลเหรียญเงิน ได้แก่ ทีม PIM RANGER ได้รับหัวข้อ Street Food
คณะศิลปศาสตร์ และคณะการจัดการธุรกิจอาหาร ร่วมกันคิดค้น “Eatery” แพลตฟอร์มรวบรวมแหล่งสตรีทฟู้ดที่ทั้งอร่อยและสะอาดตามวิถี New Normal ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกและมั่นใจในคุณภาพมากยิ่งขึ้น และเพิ่มช่องทางการขายให้กับผู้ขาย ทั้งนี้ยังคว้ารางวัล Best Presentation Award ได้ตั๋วไปแข่งขันต่อในระดับภูมิภาคอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ต่อไป
สมาชิกทีมประกอบด้วย
1. นายวรชิต จันทรงชัย คณะศิลปศาสตร์
2. นายณัฐวัฒน์ อภิชิตปิติพงศ์ คณะศิลปศาสตร์
3. นายชวกร ขาปลอด คณะการจัดการธุรกิจอาหาร
4. นายณิชภูมิ เรือแก้ว คณะการจัดการธุรกิจอาหาร
5. น.ส.ชนากานต์ ไทยสนธิ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร
รางวัลเหรียญทองแดง ทีม Sour Candy ได้รับหัวข้อ Environment
คณะศิลปศาสตร์ กับผลงานแนวคิดแอปพลิเคชัน “Reshop” เพื่อซื้อ-ขายสินค้ารีไซเคิลและสินค้ามือสองออนไลน์ ได้ไอเดียจากชุมชนของสมาชิกในทีมแต่ละคนประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านขยะ อีกทั้งยังได้รับการปลูกฝังให้แยกขยะจากทางครอบครัวและพีไอเอ็ม จึงอยากให้หันมารณรงค์การลดขยะและส่งเสริมการใช้ของรีไซเคิลหรือของมือสองแทนที่จะซื้อของใหม่ ช่วยลดรายจ่ายของแต่ละครัวเรือน สร้างรายได้ให้กับแรงงานฝีมือ
สมาชิกทีมจากคณะศิลปศาสตร์ประกอบด้วย
1. นางสาวจาริณฏา จันทมาลา
2 นางสาวกาญจนรัตน์ สิงห์เอกสุวรรณ
3. นางสาวกัญญาวีร์ เจนใจ
4. นางสาววรพนิต จำเริญทอง
5. นายธยานนท์ ผ่องศรี
รางวัลเหรียญทองแดง ทีม SHARK ได้รับหัวข้อ Enhanced Logistics
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงานตอบโจทย์ธุรกิจโลจิสติกส์ Automated Warehouse System Enhancement แพลตฟอร์มที่นำศาสตร์ความรู้ด้านวิศวกรรม เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics), Big Data, Machine learning ดยหาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อขั้นตอนในการจัดส่งสินค้าจากคลังสินค้าไปยังลูกค้าหรือร้าน ซึ่งนำโมเดลทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการจัดเส้นทางขนส่งเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด
สมาชิกทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบด้วย
1. นาย อนุภาพ บุญพา
2. นายกรีฑา เจริญพร
3. นายจอมศาสตร์ จอมสืบ
4. นายวุฒิกร เทพวรรณ์
5. นางสาวอรณิชชา พรหมจอม
รางวัลเหรียญทองแดง ทีม PIM Group 9 ได้รับหัวข้อ Post-COVID-19 Commerce
คณะศิลปศาสตร์ และคณะการจัดการธุรกิจอาหาร ผลงานแนวคิดตู้ “Tops fresh cabinet” ไอเดียเกิดจากความต้องการลดการสัมผัสในการซื้อของในช่วงระบาดของโควิด19 โดยการใช้งานของตู้ เริ่มจากสั่งซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารอาทิ เนื้อหมู ไข่ ผัก ในแอปฯ จากนั้นรอแจ้งเตือนให้รับของ โดยใช้การสแกนใบหน้าในการเปิดตู้สินค้า ทำให้การทำอาหารเองที่บ้านง่ายขึ้น สะดวกและปลอดภัย
สมาชิกทีมประกอบด้วย
1.นางสาวชนัดดา ลือสมศรี คณะศิลปศาสตร์
2.นางสาวญาดา วิจิตรจันทร์ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร
3.นายสุรศักดิ์ โกวิทย์ศิริกุล คณะการจัดการธุรกิจอาหาร
4. นายพีระ ปานมุก คณะการจัดการธุรกิจอาหาร